ข่าวแจ้งสื่อมวลชน
อินโดรามา เวนเจอร์ส สานต่อการหมุนเวียนสำหรับถาดบรรจุภัณฑ์อาหารผลิตจาก PET ด้วยความร่วมมือกับ AMB
กรุงเทพฯ ประเทศไทย และ San Daniele del Friuli ประเทศอิตาลี – 17 สิงหาคม 2566 – เทคโนโลยีการรีไซเคิลถาดบรรจุอาหารที่ผลิตจากพลาสติก PET แบบใหม่เป็นอีกหนึ่งการผลักดันเศรษฐกิจหมุนเวียนที่สำคัญ โดยล่าสุด บริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส จำกัด (มหาชน) ร่วมมือกับบริษัท AMB เพื่อนำเกล็ดพลาสติกที่ได้จากการรีไซเคิลถาดบรรจุภัณฑ์อาหารที่ผลิตจากพลาสติก PET ไปผลิตฟิล์มคุณภาพสูงที่เหมาะสำหรับนำไปผลิตถาดบรรจุภัณฑ์อาหารอีกครั้งหนึ่ง
AMB บริษัทจากยุโรปซึ่งเชี่ยวชาญด้านโซลูชั่นที่ยั่งยืนสำหรับตลาดบรรจุภัณฑ์อาหาร ทั้งชนิดแข็งตัว (rigid packaging) และชนิดอ่อนตัว (flexible packaging) เป็นองค์กรพันธมิตรล่าสุดที่ร่วมมือกับ อินโดรามา เวนเจอร์ส หนึ่งในบริษัทเคมีภัณฑ์ชั้นนำระดับโลกที่ดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน เพื่อผลิตเกล็ดพลาสติก PET รีไซเคิล (rPET flake) สำหรับตลาดบรรจุภัณฑ์อาหาร ซึ่งจะช่วยให้อินโดรามา เวนเจอร์ส สามารถพัฒนาเศรษฐกิจหมุนเวียนสำหรับถาดบรรจุภัณฑ์อาหารที่ผลิตจาก PET ให้ก้าวหน้าไปอีกขั้น
โดยความร่วมมือกับ AMB มีเป้าหมายที่จะลดจำนวนถาดบรรจุภัณฑ์อาหารที่ผลิตจาก PET ซึ่งผ่านการใช้งานแล้วจากการฝังกลบหรือเผาทำลายให้ได้มากกว่า 150 ล้านชิ้น ภายในสิ้นปี 2568 เทคโนโลยีใหม่นี้ช่วยให้ อินโดรามา เวนเจอร์ส สามารถจัดหาเกล็ดพลาสติก PET ที่รีไซเคิลจากถาดบรรจุภัณฑ์อาหารซึ่งผ่านการใช้งานแล้วให้กับ AMB เพื่อนำไปใช้ผลิตฟิล์มชนิดใสสำหรับบรรจุอาหาร ซึ่งช่วยเพิ่มปริมาณการใช้วัสดุรีไซเคิลจากถาดบรรจุภัณฑ์ในผลิตภัณฑ์ของ AMB
นาย Paolo Cescutti ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายจัดซื้อจัดหา AMB กล่าวว่า “ผู้บริโภคล้วนคำนึงถึงความยั่งยืนและความปลอดภัยของอาหารที่บริโภค อีกทั้งต้องการรับประกันว่าถาดบรรจุภัณฑ์อาการที่พวกเขาใช้นั้นสามารถรีไซเคิลได้ ซึ่ง ณ เวลานี้ วัสดุรีไซเคิลที่เกิดจากความร่วมมือกับอินโดรามา เวนเจอร์ส ทำให้เราสามารถแปรเปลี่ยนพลาสติกใช้งานแล้วจำนวนมากยิ่งขึ้นให้เป็นบรรจุภัณฑ์อาหารที่ปลอดภัยอีกครั้งหนึ่ง ผู้ผลิตอาหารและผู้บริโภคสามารถมั่นใจได้ว่าผลิตภัณฑ์ของ AMB มีคุณสมบัติที่เหมาะต่อการนำไปรีไซเคิลได้อย่างแท้จริงและปลอดภัยต่อการสัมผัสอาหาร เรารู้สึกภาคภูมิใจที่ได้เป็นหนึ่งในองค์กรแรกๆ ที่นำนวัตกรรมนี้ออกสู่ตลาดร่วมกับผู้เชี่ยวชาญจากอินโดรามา เวนเจอร์ส”
หลังจากการวิจัยและพัฒนากว่า 72 เดือน อินโดรามา เวนเจอร์ส ประสบความสำเร็จในการผลิตเกล็ดพลาสติก PET ที่รีไซเคิลจากถาดบรรจุภัณฑ์อาหารเพื่อใช้งานเชิงพาณิชย์ ณ โรงงานของบริษัทฯ ในเมือง Verdun ประเทศฝรั่งเศส ผลลัพธ์ของเทคโนโลยีการรีไซเคิลที่เกิดขึ้นจะลดจำนวนถาดบรรจุภัณฑ์อาหารผลิตจาก PET ที่ผ่านการใช้งานแล้วจากการฝังกลบหรือเผาทำลายได้หลายหลายชิ้น
นายดีลิป กุมาร์ อากาวาล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัทฯ และประธานบริหารธุรกิจ Combined PET ประธานกลุ่มธุรกิจ Combined PET อินโดรามา เวนเจอร์ส กล่าวว่า “ทุกความร่วมมือใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นกับผู้นำด้านความยั่งยืนอย่าง AMB จะช่วยให้เส้นทางเศรษฐกิจหมุนเวียนสำหรับถาดบรรจุภัณฑ์อาหารที่ผลิตจาก PET เป็นไปอย่างราบรื่น และยืดอายุการใช้งานวัสดุ PET นั่นหมายความว่า เราใช้วัตถุดิบใหม่น้อยลง อีกทั้งกระบวนการผลิตก็มีของเสียและการปล่อยก๊าซคาร์บอนลดลงด้วย ทั้งนี้ อินโดรามา เวนเจอร์ส เป็นหนึ่งในบริษัทแรกๆ ที่ลงทุนด้านการรีไซเคิลถาดบรรจุภัณฑ์อาหารที่ผลิตจาก PET เนื่องด้วยบริษัทฯ ต้องการสนับสนุนการสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียน เพื่อป้องกันไม่ให้ผลิตภัณฑ์ที่ใช้แล้วจบลงด้วยการฝังกลบหรือถูกเผาทำลาย หลังจากที่เราได้พัฒนาความสามารถทางเทคนิคแล้ว ตอนนี้เรารู้สึกตื่นเต้นที่เห็นกระบวนการดังกล่าวได้รับแรงสนับสนุนอย่างเต็มที่”
AMB ในฐานะผู้บุกเบิกความร่วมมือครั้งนี้ได้เปิดตัว ‘AMB TrayRevive’ แบรนด์สำหรับการรีไซเคิลถาดบรรจุภัณฑ์อาหารเพื่อผลิตถาดบรรจุภัณฑ์อาหาร (tray-to-tray recycling) เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่สามารถรองรับบรรจุภัณฑ์ที่สามารถรีไซเคิลได้ โดยโครงการที่ AMB พัฒนาขึ้นเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ความยั่งยืนอขององค์กร เพื่อสนับสนุนเป้าหมายของสหภาพยุโรปที่จะต้องการให้บรรจุภัณฑ์ทั้งหมดสามารถรีไซเคิลได้ในปริมาณมาก และเปลี่ยนเป็นวัตถุดิบรีไซเคิล ภายในปี 2578
ในฐานะผู้ผลิตรายใหญ่ที่สุดในโลกสำหรับเม็ดพลาสติกรีไซเคิลที่นิยมใช้ในการผลิตขวดเครื่องดื่ม ความสำเร็จครั้งนี้สอดคล้องกับความมุ่งมั่นของอินโดรามา เวนเจอร์ส ในการเพิ่มอัตราการรีไซเคิล PET ทั่วโลก โดยมีเป้าหมายที่จะนำ PET ที่ผ่านการใช้งานเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลให้ได้ 750,000 ตันต่อปี ภายในปี 2568
การลงทุนและความร่วมมือในรูปแบบนี้ช่วยให้ผู้บริโภคมั่นใจได้ว่าบรรจุภัณฑ์อาหารของพวกเขาสามารถนำไปรีไซเคิลได้ และช่วยให้แบรนด์ต่างๆ สามารถลงทุนในการสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียนโดยมีโอกาสเลือกผลิตภัณฑ์ที่สามารถที่ผลิตจากวัสดุรีไซเคิลได้ และเมื่อแรงผลักดันเติบโตขึ้น ปริมาณการใช้งานวัสดุรีไซเคิลสำหรับการผลิตภัณฑ์ต่างๆ ก็ขยายตัวเช่นกัน เพื่อสร้างอุตสาหกรรมใหม่ที่มีรากฐานจากวัสดุ PET รีไซเคิล ในฐานะทางเลือกสำหรับบรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืน