กรุงเทพฯ – 4 ธันวาคม 2567 – บริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตเคมีภัณฑ์ชั้นนำระดับโลกที่ดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน ร่วมกับวิทยาลัยโลกคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประกาศความสำเร็จของโครงการ Circular Innovation Challenge (CIC) Alumni Design Sprint 2024 ซึ่งมุ่งเสริมพลังให้กับเหล่าผู้ชนะในโครงการที่ผ่านมาให้สามารถรับมือกับความท้าทายด้านสิ่งแวดล้อมในโลกแห่งความเป็นจริง พร้อมส่งเสริมแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนในระดับโลก

โครงการที่เข้มข้นนี้ดำเนินการเป็นเวลาทั้งหมด 5 สัปดาห์ โดยได้รวบรวมผู้ชนะเลิศในโครงการประกวดนวัตกรรมเศรษฐกิจหมุนเวียน หรือ Circular Innovation Challenge (CIC) ระหว่างปี 2564–2566 มาพัฒนาวิธีการแก้ปัญหาความยั่งยืนให้ดียิ่งขึ้น ทั้งนี้ อินโดรามา เวนเจอร์ส มีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนกลุ่มนักสร้างการเปลี่ยนแปลงรุ่นใหม่ เพื่อให้มั่นใจว่านวัตกรรมของพวกเขาไม่เพียงแต่จะสามารถเข้าสู่ตลาดที่เหมาะสมได้ แต่ยังสามารถสร้างผลลัพธ์เชิงบวกระดับโลกได้อีกด้วย

โครงการ CIC Alumni Design Sprint 2024 เป็นเวทีสำหรับการทำงานร่วมกัน โดยผู้เข้าร่วมโครงการจะได้รับเครื่องมือที่จำเป็น คำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ และทรัพยากรในการปรับแต่งโครงการและต้นแบบนวัตกรรมของพวกเขา โครงการนี้สานต่อพันธกิจของ Circular Innovation Challenge ซึ่งเป็นการแข่งขันที่ได้รับการสนับสนุนจากอินโดรามา เวนเจอร์ส และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยมีเป้าหมายในการดึงดูดนวัตกรรุ่นใหม่จากภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ผ่านเวิร์กช็อปด้านความยั่งยืน และค่ายฝึกปฏิบัติด้านการคิดเชิงออกแบบ เพื่อเตรียมความพร้อมให้พวกเขาสามารถพัฒนาโซลูชันที่เป็นรูปธรรมและแผนธุรกิจที่ชัดเจนในการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นได้จริง

โครงการ CIC Alumni Design Sprint ในปีนี้ ผลักดันผู้เข้าร่วมให้พัฒนาแนวคิดต้นแบบของพวกเขาผ่านกระบวนการที่มีโครงสร้างตามกรอบแนวคิด SPRINT โดยมีการคัดเลือก 3 โครงการที่มีศักยภาพในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างมีความหมาย และมีความเป็นไปได้ในแง่ของรูปแบบทางธุรกิจ

  • ทีม Recyso (ผู้ชนะเลิศจากปี 2564) – Eco-Shield Pro: กลุ่มนวัตกรชาวไทยจากโรงงานแบตเตอรี่และพลังงานยุคใหม่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประเทศไทย ได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ป้องกันรังสีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและปราศจากสารพิษ ซึ่งทำจากขยะแผงโซลาร์เซลล์ที่นำมารีไซเคิล โดยออกแบบสำหรับนำไปใช้ในสถานพยาบาล

    ผลลัพธ์: เพิ่มมูลค่าขยะโซลาร์ สนับสนุนพลังงานหมุนเวียน ลดขยะอันตราย เป็นการสร้างงาน และลดต้นทุนด้านการรักษาพยาบาล

  • ทีม Waste to Planter (รางวัลเยาวชน จากปี 2564): กลุ่มนักเรียนมัธยมจากโรงเรียนปลาปากวิทยา จังหวัดนครพนม ประเทศไทย ซึ่งพัฒนากระถางต้นไม้จากขยะพลาสติก HDPE ในภาคเกษตรกรรมที่นำมารีไซเคิล โดยมุ่งเน้นกลุ่มเป้าหมายผู้บริโภคที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม ขณะเดียวกันก็ส่งเสริมการเกษตรแบบยั่งยืน

    ผลลัพธ์: ลดปริมาณขยะพลาสติก สร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน ลดการปล่อยคาร์บอน และสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจให้เกษตรกร

  • ทีม SCPB (ผู้ชนะเลิศจากปี 2566) – กลุ่มผู้ก่อตั้งชาวไทยจาก Phytavaren Technology ซึ่งเป็นสตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีพร็อพเทคที่ตั้งอยู่ในประเทศอังกฤษ โดยพัฒนาอิฐบล็อกประสานที่ทำจากแคลไซต์เปลือกหอย ขยะพลาสติกจากมหาสมุทร และมวลรวมคอนกรีต ออกแบบมาเพื่อลดสะพานความร้อน และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานในอาคาร

    ผลลัพธ์: เพิ่มความปลอดภัยและประสิทธิภาพด้านพลังงานในอาคาร ลดมลภาวะทางทะเล และสนับสนุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอย่างยั่งยืน

นางสุจิตรา โลเฮีย รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัทฯ และประธานคณะกรรมการกำกับดูแลการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคม อินโดรามา เวนเจอร์ส กล่าวว่า "อินโดรามา เวนเจอร์ส รู้สึกภาคภูมิใจที่ได้สนับสนุนนวัตกรรุ่นใหม่ที่กำลังสานต่อเศรษฐกิจหมุนเวียน ซึ่งช่วยให้ห่วงโซ่คุณค่าด้าน PET และโพลีเอสเตอร์ ของเราสามารถได้รับประโยชน์ โครงการ Circular Innovation Challenge Alumni Design Sprint ได้ทำให้เราเห็นคนรุ่นใหม่ร่วมเปลี่ยนแนวคิดของพวกเขาให้กลายเป็นโซลูชันที่จับต้องได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโซลูชันที่แก้ไขปัญหาในอุตสาหกรรม PET และการจัดการกับขยะพลาสติก เรารู้สึกเป็นเกียรติที่ได้สนับสนุนคนรุ่นใหม่เหล่านี้ในเส้นทางของพวกเขา และหวังเป็นอย่างยิ่งว่านวัตกรรมของพวกเขาจะนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวกและยั่งยืน”

ผศ.ดร. ประภาภรณ์ ติวยานนท์ มงคลวนิช คณบดีวิทยาลัยโลกคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวเสริมว่า "ในฐานะนักการศึกษา เรารู้สึกเป็นเกียรติที่ได้มีส่วนในการเสริมสร้างพลังให้เยาวชนสามารถเปลี่ยนแนวคิดของพวกเขาให้กลายเป็นโซลูชันที่สร้างผลลัพธ์ได้ในโลกแห่งความเป็นจริง โครงการทั้งสามที่เกิดขึ้นจากความคิดริเริ่มนี้มีแนวโน้มที่ดีอย่างยิ่งที่จะพัฒนาเป็นธุรกิจที่สร้างการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและสิ่งแวดล้อมที่มีความหมายทั่วทั้งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และทั่วโลก เราขอขอบคุณอินโดรามา เวนเจอร์ส และพันธมิตรของเราสำหรับแรงบันดาลใจให้ผู้นำรุ่นใหม่เหล่านี้พร้อมรับเศรษฐกิจหมุนเวียน และสร้างอนาคตที่พวกเขาสามารถภาคภูมิใจได้อย่างแท้จริง”

โครงการ Circular Innovation Challenge Alumni Design Sprint ถือเป็นเครื่องพิสูจน์ถึงศักยภาพของโครงการริเริ่มที่ขับเคลื่อนโดยเยาวชนในการแก้ไขปัญหาความยั่งยืนในหลากหลายอุตสาหกรรม ด้วยการมอบทักษะและการสนับสนุนที่จำเป็นให้กับนักนวัตกรรุ่นใหม่ในการพัฒนาโซลูชั่นที่สามารถขยายผลและสร้างผลกระทบเชิงบวกได้ อินโดรามา เวนเจอร์ส และพันธมิตรกำลังช่วยสร้างเส้นทางสู่อนาคตที่ยั่งยืนและหมุนเวียนยิ่งขึ้น

แกลอรี่