- สรุปข้อสนเทศ -
บริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส จำกัด (มหาชน) ("IVL หรือ "บริษัทฯ")

แก้ไขตารางข้อมูลในส่วนของการกระจายหุ้น ในหน้า 29 และเพิ่มเติมรายชื่อผู้ถือหุ้น 10 รายแรก ในหน้า 30


ที่ตั้งสำนักงานใหญ่
75/102 อาคารโอเชี่ยนทาวเวอร์ 2 ชั้น 37 ซอยสุขุมวิท 19 (วัฒนา) ถนนอโศก แขวงคลองเตยเหนือ
เขตวัฒนา กรุงเทพ 10100 ประเทศไทย โทรศัพท์ 0-2661-6661 โทรสาร 0-2661-6664-5 Website
http://www.indoramaventures.com

ที่ตั้งโรงงาน
บริษัทฯ ประกอบธุรกิจด้านการลงทุนโดยการถือหุ้นในบริษัทต่างๆ (Holding Company) ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
ในผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีแบบครบวงจร โดยบริษัทย่อยต่างๆมีที่ตั้งโรงงาน ดังต่อไปนี้

โรงงานผลิต สถานที่ตั้ง


โรงงานผลิต PET ของ AlphaPet เมือง Decatur รัฐ Alabama สหรัฐอเมริกา
โรงงานผลิต PET ของ StarPet เมือง Asheboro รัฐ North Carolina สหรัฐอเมริกา
โรงงานผลิต PET ของ Orion Global เมือง Klaipeda ประเทศลิธัวเนีย
โรงงานผลิต PET ของ IRP Rotterdam เมือง Rotterdam ประเทศเนเธอร์แลนด์
โรงงานผลิต PET ของ IRP Workington เมือง Workington สหราชอาณาจักร
จังหวัดลพบุรี ประเทศไทย
โรงงานผลิต PET ของ บมจ. อินโดรามา
โพลีเมอร์ส / บจ. เอเซีย เพ็ท (ไทยแลนด์)
สายการผลิตเม็ดพลาสติก PET ของ มาบตาพุด ประเทศไทย
บมจ. อินโดรามา โพลีเอสเตอร์ อินดัสตรี้ส์
โรงงานผลิตบรรจุภัณฑ์ PET ของ บจ. เพ็ทฟอร์ม (ไทยแลนด์) จังหวัดลพบุรี ประเทศไทย
โรงงานผลิตโพลีเอสเตอร์ของ บมจ. อินโดรามา โพลีเอสเตอร์ อินดัสตรี้ส์ จังหวัดนครปฐม ประเทศไทย
โรงงานผลิตโพลีเอสเตอร์ของ บมจ. อินโดรามา โพลีเอสเตอร์ อินดัสตรี้ส์ มาบตาพุด ประเทศไทย
โรงงาน PTA ของ บจ. อินโดรามา ปิโตรเคม จังหวัดระยอง ประเทศไทย
โรงงาน PTA ของ บมจ. ทีพีที ปิโตรเคมิคอลส์ มาบตาพุด ประเทศไทย
โรงงาน PTA ของ IRH Rotterdam เมือง Rotterdam ประเทศเนเธอร์แลนด์
โรงงานปั่นด้ายขนสัตว์ ของ บจ. อินโดรามา โฮลดิ้งส์ จังหวัดลพบุรี ประเทศไทย


เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2553 (เริ่มทำการซื้อขายวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2553)
เป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน
หุ้นสามัญ 4,334,271,047 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท รวม 4,334,271,047
ประเภทหลักทรัพย์จดทะเบียน
บาท โดยแบ่งเป็น
- หุ้นสามัญเดิมจำนวน 3,351,543,910 หุ้น
- หุ้นสามัญที่ออกใหม่ที่เสนอขายต่อประชาชนจำนวน 400,000,000 หุ้น และ
- หุ้นสามัญที่ออกใหม่ที่เสนอขายต่อผู้ถือหุ้นรายย่อยของบริษัทอินโดรามา
โพลีเมอร์ส จำกัด (มหาชน) ตามแผนการปรับโครงสร้างการถือหุ้นและการ
จัดการจำนวน 582,727,137 หุ้น
ณ วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2553 (วันที่เริ่มทำการซื้อขาย)
ทุนของบริษัท
ทุนจดทะเบียน หุ้นสามัญ 5,082,000,000 บาท
หุ้นบุริมสิทธิ - บาท
ทุนจดชำระแล้ว หุ้นสามัญ 4,334,271,047 บาท
หุ้นบุริมสิทธิ - บาท
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ("SET" หรือ "ตลาดหลักทรัพย์ฯ")
ตลาดรอง
10.20 บาท ต่อหุ้น
ราคาเสนอขาย
25-27 มกราคม 2553
วันที่เสนอขาย
1. ชำ ระคื นหนี้ เ งิ น กู้เ งิ น ทุ นหมุ น เวี ยนบางส่ว น ประมาณ 1,342.4 ล้ นบาท
วัตถุประสงค์การใช้เงินเพิ่มทุน
และ
2. สำ หรั บ ส่ ว นที่ เ หลื อ เพื่ อ นำ ไปใช้ เ ป็ น เงิ น ทุ น หมุ น เวี ย นของบริ ษั ท ฯ และ
ดำเนิน ธุร กิจทั่ วไป ซึ่ง รวมถึง การการลงทุ นในทรัพย์ สิน หรือ ธุรกิ จซึ่ งเกี่ย ว
กับกิจการของบริษัทฯ ตามแต่โอกาสเหมาะสม

จำนวนไม่เกิน 60,000,000 หุ้น หรือคิดเป็นร้อยละ 15 ของจำนวนหุ้นที่เสนอขาย
การจัดสรรหุ้นส่วนเกิน
ในครั้งนี้ โดยยืมจาก บจ. อินโดรามา รีซอสเซส โดยมีบริษัทหลักทรัพย์ บัวหลวง
จำกัด (มหาชน) เป็นผู้จัดหาหุ้นส่วนเกิน และจะจัดหาหุ้นคืนภายใน 30 วันนับแต่
วันที่เริ่มทำการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ วิธีการจัดหาหุ้นส่วนเกินเพื่อส่งคืนจะ
เป็นดังต่อไปนี้
1. ซื้อหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ฯ และ/หรือ
2. ใช้สิทธิซื้อหุ้นสามัญจาก บจ. อินโดรามา รีซอสเซส

ประเภทกิจการและลักษณะการดำเนินงาน
ลักษณะผลิตภัณฑ์
บริษัทฯ ประกอบธุรกิจด้านการลงทุนโดยการถือหุ้นในบริษัทต่างๆ (Holding Company) ทั้งในประเทศและ
ต่างประเทศ ในผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีแบบครบวงจร ซึ่งผลิตและจำหน่าย PET (Polyethylene Terephthalate) เส้นใย
และเส้นด้ายโพลีเอสเตอร์ (Polyester Fiber and Yarn) PTA (Purified Terephthalic Acid) และเส้นใยจากขนสัตว์
โดยสามารถแบ่งแยกตามกลุ่มธุรกิจหลักได้ดังต่อไปนี้
1. กลุ่มธุรกิจ PET
บริษัทฯ ประกอบธุรกิจการผลิตและจำหน่าย PET ซึ่งเป็นพลาสติกโพลีเมอร์ ที่นำมาใช้เป็นวัตถุดิบใน
การผลิตบรรจุภัณฑ์ของเครื่องดื่ม บรรจุภัณฑ์อาหาร รวมถึงบรรจุภัณฑ์ของเวชภัณฑ์ประเภทต่างๆ ตลอดจนเครื่องใช้
ภายในบ้านและในอุตสาหกรรม นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังผลิตบรรจุภัณฑ์ PET ในรูปแบบของพลาสติกขึ้นรูปขวด
(Preforms) ขวด และฝาขวดเกลียว (Closures) ด้วย โดยการร่วมทุนกับ บมจ. เสริมสุข ซึ่งเป็นผู้ผลิตและจัดจำหน่าย
ผลิตภัณฑ์เป๊ปซี่แต่เพียงผู้เดียวในประเทศ บริษัทฯ มีโรงงานผลิต PET จำนวน 2 แห่งในประเทศไทย 3 แห่งในทวีป
ยุโรป (ในประเทศเนเธอร์แลนด์ สหราชอาณาจักร และประเทศลิธัวเนีย) และอีก 2 แห่งในสหรัฐอเมริกา (ในรัฐ North
Carolina และ รัฐ Alabama) โดย ณ วันที่ 30 กันยายน 2552 บริษัทฯ มีกำลังการผลิตติดตั้งรวมอยู่ที่ 1,498,000 ตัน
ต่อปี
2. กลุ่มธุรกิจเส้นใยและเส้นด้ายโพลีเอสเตอร์
บริษัทฯ ประกอบธุรกิจการผลิตและจำหน่ายเส้นใยและเส้นด้ายโพลีเอสเตอร์ รวมถึงผลิตภัณฑ์โพลีเอ
สเตอร์ประเภทต่างๆ ที่หลากหลาย โพลีเอสเตอร์เป็นเส้นใยสังเคราะห์ประเภทหนึ่งที่ใช้กันอย่างกว้างขวางในโลก และ
เป็นวัตถุดิบที่ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง เนื่องจากสามารถนำไปใช้เป็นวัตถุดิบของผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมต่างๆ บริษัทฯ
มีโรงงานผลิตเส้นใยและเส้นด้ายโพลีเอสเตอร์ทั้งหมด 2 แห่งในประเทศไทย โดย ณ วันที่ 30 กันยายน 2552 บริษัทฯ
มีกำลังการผลิตติดตั้งรวมอยู่ที่ 244,800 ตันต่อปี
3. กลุ่มธุรกิจ PTA
บริษัทฯ ประกอบธุรกิจการผลิตและจำหน่าย PTA ซึ่งเป็นกรดอินทรีย์ในรูปแบบผงแป้งสีขาวละเอียด
ซึ่งส่วนใหญ่นำมาใช้เป็นวัตถุดิบเพื่อการผลิตผลิตภัณฑ์โพลีเอสเตอร์ โดยเริ่มประกอบธุรกิจ PTA ในปี 2551 กลุ่มธุรกิจ
PTA ของบริษัทฯ เป็นธุรกิจสนับสนุนกลุ่มธุรกิจ PET และกลุ่มธุรกิจเส้นใยและเส้นด้ายโพลีเอสเตอร์ และเป็นส่วนหนึ่ง
ของกลยุทธ์ของบริษัทฯ ในการประกอบธุรกิจแบบรวมตัวในแนวตั้ง (Vertically Integrated Operations) บริษัทฯ มี
โรงงานผลิต PTA จำนวน 2 แห่งในประเทศไทย และโรงงานอีก 1 แห่งในประเทศเนเธอร์แลนด์ โดย ณ วันที่ 30
กันยายน 2552 บริษัทฯ มีกำลังการผลิตติดตั้งรวมอยู่ที่ 1,590,000 ตันต่อปี
4. กลุ่มธุรกิจเส้นใยจากขนสัตว์
ธุรกิจเส้นใยจากขนสัตว์ของบริษัทฯ เป็นธุรกิจเฉพาะกลุ่ม ซึ่งประกอบด้วยการพัฒนา การผลิต และการจำหน่าย
เส้นด้ายจากขนสัตว์และขนสัตว์ (Wool Yarns / Wool Tops) โดยมีโรงปั่นด้ายขนสัตว์ของบริษัทฯ ในประเทศไทย
จำนวน 1 แห่ง โดย ณ วันที่ 30 กันยายน 2552 บริษัทฯ มีกำลังการผลิตติดตั้งอยู่ที่ 5,900 ตันต่อปี


โครงสร้างรายได้ของกลุ่มบริษัท
งวดเก้าเดือนสิ้นสุด
รอบปีบัญชีสิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคม
ณ วันที่ 30 กันยายน
รายละเอียด
2549 2550 2551 2552
ล้านบาท ร้อยละ ล้านบาท ร้อยละ ล้านบาท ร้อยละ ล้านบาท ร้อยละ
รายได้จากการขายของบริษัทฯ
- PET 11,847 63.1 25,551 79.0 40,969 76.8 32,850 55.6
- เส้นใยและเส้นด้าย 4,461 23.8 4,501 13.9 4,975 9.3
7,526 12.8
โพลีเอสเตอร์
- PTA - - - - 14,732 27.6 34,177 57.9
- เส้นใยจากขนสัตว์ 1,844 9.8 1,605 5.0 1,678 3.1 732 1.2
- รายได้อื่น* 608 3.3 710 2.2 404 0.8 - -
หัก รายการระหว่างกัน - - (22) (0.1) (9,426) (17.6) (16,213) (27.5)
รายได้จากการขายรวม 18,760 100.0 32,345 100.0 53,332 100.0 59,072 100.0
รายได้ของบริษัทฯ แบ่งตามภูมิศาสตร์
- ประเทศไทย 4,186 22.3 4,745 14.7 6,064 11.4 8,665 14.7
- ทวีปอเมริกาเหนือ 7,661 40.8 10,482 32.4 12,548 23.5 9,480 16.0
- ทวีปยุโรป 2,488 13.3 12,520 38.7 25,500 47.8 22,582 38.2
- อื่น ๆ 4,425 23.6 4,598 14.2 9,220 17.3 18,345 31.1
รายได้จากการขายรวม 18,760 100.0 32,345 100.0 53,332 100.0 59,072 100.0
หมายเหตุ * รายได้อื่น รวมถึง รายได้จากการขายเคมีภัณฑ์

กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย และช่องทางการจำหน่าย
1. กลุ่มธุรกิจ PET
บริษัทฯ มีทีมการขายและการตลาดในส่วนของกลุ่มธุรกิจ PET ในแต่ละภูมิภาคที่บริษัทฯ ประกอบธุรกิจ โดยมี
ฝ่ายการขายและการตลาดของสำนักงานใหญ่ในประเทศเป็นผู้ดูแล บริษัทฯ จำแนกลูกค้ารายสำคัญของผลิตภัณฑ์ PET
เป็น 4 กลุ่ม ดังนี้
บริษัทผู้ผลิตและจำหน่ายเครื่องดื่มซึ่งมียี่ห้อเป็นที่รู้จัก และมีโรงงานผลิตขวด PET ของตนเอง
-
บริษัทผู้ผลิตและจำหน่ายเครื่องดื่มซึ่งมียี่ห้อเป็นที่รู้จัก ซึ่งว่าจ้างช่วงผู้รับจ้างแปรสภาพเม็ดพลาสติก PET
-
ให้ผลิตขวด PET โดยใช้เม็ดพลาสติก PET ที่บริษัทผู้ผลิตและจำหน่ายเครื่องดื่มดังกล่าวซื้อมา
ผู้ค้าเม็ดพลาสติก PET และ
-
ผู้ใช้เม็ดพลาสติก PET เพื่อนำมาผลิตพลาสติกขึ้นรูปขวด ขวดพลาสติก แผ่นพลาสติก และบรรจุภัณฑ์
-
พลาสติกอื่นๆ ที่ทำจาก PET เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค
บริษัทฯ ขายเม็ดพลาสติก PET ในลักษณะการขายตรงให้แก่ลูกค้าเป็นหลัก มีเพียงการขายส่วนน้อยที่เป็นการ
ขายผ่านตัวแทนและผู้ค้า ลูกค้ารายหนึ่งของธุรกิจเม็ดพลาสติก PET ของบริษัทฯ สร้างรายได้ให้แก่บริษัทฯ ในปี 2549
ปี 2550 ปี 2551 และงวดเก้าเดือนสิ้นสุด ณ วันที่ 30 กันยายน 2552 จำนวน 2,940 ล้านบาท จำนวน 4,466 ล้านบาท
จำนวน 5,259 ล้านบาท และจำนวน 4,346 ล้านบาท (หรือคิดเป็นร้อยละ 15.7 ร้อยละ 13.8 ร้อยละ 9.9 และร้อยละ
7.4) ของรายได้จากการขายสินค้าทั้งหมด ตามลำดับ นอกจากนี้ รายได้ที่บริษัทฯ ได้รับจากลูกค้าที่สร้างรายได้ให้กับ
กลุ่มธุรกิจ PET ของบริษัทฯ มากที่สุด 10 รายแรก ในปี 2549 ปี 2550 ปี 2551 และในงวดเก้าเดือนสิ้นสุด ณ วันที่ 30
กันยายน 2552 คิดเป็นร้อยละ 71.5 ร้อยละ 48.9 ร้อยละ 46.7 และร้อยละ 40.3 ของรายได้ทั้งหมดของบริษัทฯ ที่ได้
จาก PET (หรือคิดเป็นร้อยละ 45.1 ร้อยละ 38.6 ร้อยละ 35.9 และร้อยละ 22.4 ของรายได้จากการขายสินค้าทั้งหมด
ของบริษัทฯ) ตามลำดับ
นอกจากนี้ บริษัทฯ เป็นผู้ผลิตเม็ดพลาสติก PET รายเดียวที่มีโรงงานผลิตในทวีปเอเชีย ทวีปอเมริกาเหนือ และ
ทวีปยุโรป ซึ่งส่งผลให้บริษัทฯ สามารถทำการตลาดเพื่อจำหน่ายผลิตภัณฑ์เม็ดพลาสติก PET ให้แก่ลูกค้าได้ทั่วโลก
2. กลุ่มธุรกิจเส้นใยและเส้นด้ายโพลีเอสเตอร์
กลุ่มลูกค้าหลักของบริษัทฯ สำหรับผลิตภัณฑ์โพลีเอสเตอร์ ได้แก่ บริษัทผู้ผลิตสิ่งทอที่ใช้ในการผลิตเสื้อผ้า
และเครื่องนุ่งห่ม บริษัทผู้ผลิตสิ่งทอที่ใช้สำหรับครัวเรือน และบริษัทผู้ประกอบการอุตสาหกรรม เช่น บริษัทผู้ผลิต
รถยนต์ และผู้ผลิตฟิล์มสำหรับบรรจุภัณฑ์ ทั้งนี้ สำนักงานใหญ่ของฝ่ายการขายและการตลาดของผลิตภัณฑ์โพลีเอ
สเตอร์ของบริษัทฯ ตั้งอยู่ในประเทศ โดยรับผิดชอบในกิจกรรมการขายผลิตภัณฑ์และการตลาดที่เกี่ยวกับลูกค้าของ
บริษัทฯ ทั่วโลก โดยที่บริษัทฯ ขายผลิตภัณฑ์โพลีเอสเตอร์ให้กับลูกค้าโดยตรงสำหรับการขายภายในประเทศและขาย
ผ่านตัวแทนจำหน่ายสำหรับการส่งออกขายต่างประเทศ
ลูกค้าโพลีเอสเตอร์รายใหญ่ของบริษัทฯ จำนวน 10 รายแรก จำแนกตามรายได้ ในปี 2549 ในปี 2550 ในปี
2551 และในงวดเก้าเดือนสิ้นสุด ณ วันที่ 30 กันยายน 2552 คิดเป็นร้อยละ 58.2 ร้อยละ 58.9 ร้อยละ 50.6 และร้อยละ
31.3 ของรายได้จากเส้นใยและเส้นด้ายโพลีเอสเตอร์ของบริษัทฯ ทั้งหมด (หรือคิดเป็นร้อยละ 13.8 ร้อยละ 8.2 ร้อยละ
4.7 และร้อยละ 4.0 ของรายได้จากการขายสินค้าทั้งหมดของบริษัทฯ) ตามลำดับ

3. กลุ่มธุรกิจ PTA
กลุ่มลูกค้าหลักของบริษัทฯ สำหรับผลิตภัณฑ์ PTA ได้แก่ ผู้ผลิตเม็ดพลาสติก PET และผลิตภัณฑ์โพลีเอ
สเตอร์ โดยที่ผลิตภัณฑ์ PTA ของบริษัทฯ ส่วนใหญ่จะถูกนำมาใช้ในโรงงานผลิต PET และโพลีเอสเตอร์ซึ่งเป็นธุรกิจขั้น
ปลายน้ำ บริษัทฯ ได้จำหน่าย PTA ที่เหลือจากการใช้ภายในกลุ่มให้แก่ลูกค้าซึ่งเป็นบุคคลภายนอก โดยในรอบปีบัญชี
สิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 และงวดเก้าเดือนสิ้นสุด ณ วันที่ 30 กันยายน 2552 จำนวน PTA ที่บริษัทฯ ผลิตได้
ถูกนำไปใช้เพื่อเป็นวัตถุดิบของสายธุรกิจอื่นภายในกลุ่ม เป็นจำนวนร้อยละ 51.8 และ จำนวนร้อยละ 45.4 ของปริมาณ
ผลิตภัณฑ์ PTA ทั้งหมดตามลำดับ และบริษัทฯ ขายผลิตภัณฑ์ PTA ให้แก่บุคคลภายนอก เป็นจำนวนร้อยละ 48.2 และ
จำนวนร้อยละ 54.6 ของปริมาณผลิตภัณฑ์ PTA ทั้งหมด ตามลำดับ
บริษัทฯ ขาย PTA ให้กับลูกค้าโดยตรงหรือขายผ่านทางบริษัทผู้ค้า (Trading Company) ซึ่งเหตุผลที่บริษัทฯ
ขาย PTA บางส่วนผ่านบริษัทผู้ค้า เป็นเพราะบริษัทผู้ค้าเป็นผู้จัดหาเงินทุนทางการค้าให้กับลูกค้า หรือเพราะบริษัทผู้ค้า
ซื้อในนามของบริษัทผู้ค้าเอง ทั้งนี้ บริษัทฯ ต้องเสียค่าคอมมิชชั่นให้แก่บริษัทผู้ค้า โดยบริษัทฯ ได้รวมค่าคอมมิชชั่น
ดังกล่าวไว้ในราคาขาย PTA ที่บริษัทฯ เรียกเก็บจากลูกค้า และถึงแม้ว่าบริษัทฯ จะขาย PTA ส่วนหนึ่งให้แก่บริษัทผู้ค้า
บริษัทฯ ก็ยังคงทราบถึงลักษณะและรายละเอียดของลูกค้าซึ่งเป็นผู้ใช้ PTA จริง สำนักงานใหญ่ของฝ่ายขายและฝ่าย
การตลาดของ PTA ของบริษัทฯ นั้น ตั้งอยู่ในประเทศ โดยมีหน้าที่รับผิดชอบในกิจกรรมการขายและการตลาดที่
เกี่ยวข้องกับลูกค้าทั่วโลก
บริษัทฯ มีรายได้จากลูกค้า PTA ที่สร้างรายได้ให้กับบริษัทฯ มากที่สุด จำนวน 10 ราย ในปี 2551 และในงวด
เก้าเดือนสิ้นสุด ณ วันที่ 30 กันยายน 2552 คิดเป็นร้อยละ 25.9 และร้อยละ 27.2 ของรายได้ทั้งหมดของบริษัทฯ ที่ได้
จากการขาย PTA (หรื อ คิ ด เป็ น ร้ อ ยละ 7.1 และร้ อ ยละ 15.7 ของรายได้ จ กการขายสิ น ค้ ทั้ ง หมดของบริ ษั ท ฯ)
ตามลำดับ
4. ธุรกิจเส้นใยจากขนสัตว์ของบริษัทฯ
ธุรกิจเส้นใยจากขนสัตว์ของบริษัทฯ เป็นธุรกิจเฉพาะกลุ่ม เพื่อผลิตและส่งออกเส้นด้ายจากขนสัตว์ (Worsted
Wool Yarn) โดยโรงงานผลิตเส้นด้ายจากขนสัตว์ของบริษัทฯ เป็นโรงปั่นด้ายจากขนสัตว์แห่งแรกในประเทศและยังคง
เป็ น โรงปั่ น ด้ ยจากขนสั ต ว์ ที่ เ ต็ ม รู ป แบบแห่ ง เดี ย วในประเทศ ทั้ ง นี้ เส้ น ด้ ยจากขนสั ต ว์ เ ป็ น ผลิ ต ภั ณ ฑ์ ข นสั ต ว์ ที่ มี
คุณภาพสูง และส่วนใหญ่ถูกนำไปใช้ในการผลิตสิ่งทอที่มีราคาสูง เช่น เครื่องนุ่งห่มถักทอที่มีคุณภาพ เสื้อผ้าที่ทำด้วย
การถัก และรองลงมาคือผลิตภัณฑ์เครื่องนอนที่มีคุณภาพเยี่ยม และผลิตภัณฑ์สิ่งทออื่นๆ ที่ใช้ในการตกแต่งภายใน
การจัดหาผลิตภัณฑ์
วัตถุดิบหลักที่ใช้ในผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมต่อเนื่องของโพลีเอสเตอร์ได้แก่ PX และ MEG ส่วนสารอื่นๆ และสิ่ง
ที่นำมาใช้ประโยชน์อื่นๆ ซึ่งบริษัทฯ มีความจำเป็นต้องใช้ในธุรกิจนั้น รวมถึงกรดอะซิติค กรด isopthalic ตัวเร่งปฏิกิริยา
ต่างๆ และก๊าซประเภทต่าง ๆ
PTA
ธุรกิจ PET ของบริษัทฯ บางส่วน ได้รวมตัวในแนวตั้งกับธุรกิจ PTA ของบริษัทฯ เพื่อจัดหา PTA ที่มีความ
ต่อเนื่องและในราคาที่คุ้มทุน โรงงานผลิต PET ของ IRP Rotterdam ของบริษัทฯ และสายการผลิตเม็ดพลาสติก PET
ของ บมจ. อิ น โดรามา โพลี เ อสเตอร์ อิ น ดั ส ตรี้ ส์ ของบริ ษั ท ฯ ตั้ ง อยู่ ที่ เ ดี ย วกั น กั บ โรงงานผลิ ต PTA ของ IRH
Rotterdam และโรงงานผลิต PTA ของ บมจ. ทีพีที ปิโตรเคมิคอลส์ ตามลำดับ ในขณะเดียวกันโรงงานผลิต PET ของ
AlphaPet ยังตั้งอยู่ที่เดียวกันกับโรงงานผลิต PTA ของ BP ซึ่งเป็นคู่สัญญากับบริษัทฯ ในสัญญารับซื้อ PTA ระยะยาว
(offtake agreements) ส่วนโรงงานผลิต PET ของ Orion Global ของบริษัทฯ ได้รับ PTA ส่วนหนึ่งมาจากโรงงาน PTA
ของ บจ.อินโดรามา ปิโตรเคม
MEG
บริษัทฯ ซื้อ MEG ซึ่งเป็นสารสกัดปลายน้ำของเอธิลีนจาก Equate และ Sabic ภายใต้สัญญาระยะสั้นและระยะ
กลาง ในราคาที่เชื่อมโยงกับราคามาตรฐานที่ได้รับการประกาศ บริษัทฯ ได้ทำการค้นหาแหล่งวัตถุดิบเหล่านี้ พร้อมทั้ง
เจรจาต่อรองราคาวัตถุดิบเหล่านี้กับผู้จัดหาวัตถุดิบร่วมกันกับกลุ่มของนายเอส.พี. โลเฮีย (ซึ่งอยู่ภายใต้การควบคุมของ
ประธานบริษัทฯ และบุคคลที่มีความสัมพันธ์ทางครอบครัวโดยตรง) และกลุ่มของนายโอ.พี. โลเฮีย (ซึ่งอยู่ภายใต้การ
ควบคุมของน้องชายของประธานบริษัทฯ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร) ซึ่งมีความสัมพันธ์อย่างไม่เป็นทางการกับบริษัท
ฯ เพื่อให้บริษัทฯ ซื้อ MEG ได้ในราคาที่ดีที่สุด อย่างไรก็ตาม คู่สัญญาในสัญญาซื้อวัตถุดิบเหล่านี้จะเป็นบริษัทย่อยที่
เกี่ยวข้องของบริษัทฯ โดยสั่งซื้อวัตถุดิบตามปริมาณและลักษณะเฉพาะตามความต้องการของบริษัทย่อยเหล่านั้น โดย
เมื่อนับรวมกลุ่มบริษัทฯ และกลุ่มของนายเอส.พี. โลเฮีย และกลุ่มของนายโอ.พี. โลเฮีย เข้าด้วยกันแล้ว จะถือเป็นผู้ซื้อ
MEG รายใหญ่ที่สุดของโลก โดยกลุ่มบริษัทฯ เพียงลำพัง ถือเป็นผู้ซื้อรายใหญ่ลำดับที่สองของโลก ทั้งนี้ การที่บริษัทฯ
อยู่ในสถานะเป็นผู้ผลิตพลาสติกโพลีเอสเตอร์ในระดับโลก ทำให้บริษัทฯ สามารถจัดหา MEG ได้อย่างกว้างขวางทั่ ว
โลก
พาราไซลีน
บริษัทฯ เป็นหนึ่งในผู้ซื้อ PX รายใหญ่ที่สุดในโลก บริษัทฯ ซื้อ PX จาก บมจ. ปตท. อะโรเมติกส์และการกลั่น
บมจ. ปตท. บจ. ไทยพาราไซลีน และ Exxon Chemical Thailand Limited ภายใต้รูปแบบสัญญาระยะยาว โรงงาน
PTA ในไทยของบริษัทฯ สามารถรับมอบ PX จากผู้จัดหาวัตถุดิบในประเทศ และในต่างประเทศได้โดยผ่านทางท่อส่งใน
มาบตาพุดของโรงงานเอง ซึ่งต่อโดยตรงจาก บจ. ไทยแท้งค์ เทอร์มินัล (ซึ่งเป็นผู้ให้บริการเก็บวัตถุดิบ) ถึงบริเวณที่ตั้ง
ของคลังเก็บสินค้า
อื่น ๆ
สินค้าประเภทบริโภคภัณฑ์อื่นๆ ที่บริษัทฯ ใช้ รวมถึง กรดอะซิติค IPA ตัวเร่งปฏิกิริยาต่างๆ ไนโตรเจน และ
ไฮโดรเจน ซึ่งบริษัทฯ ซื้อสินค้าประเภทโภคภัณฑ์เหล่านี้จากผู้จัดจำหน่ายสินค้าหลายราย โดยส่วนมากจะเข้าทำเป็น
สัญญาระยะสั้น 1 ปี

การแข่งขัน
1. กลุ่มธุรกิจ PET
การแข่งขันในตลาดโลกของเม็ดพลาสติก PET มีสูงมาก เนื่องจากมีผู้ผลิตจำนวนมากทั่วโลก และผู้ผลิตบาง
รายอาจมีแหล่งเงินทุนมากกว่าบริษัทฯ โดยที่เม็ดพลาสติก PET ถือเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ ดังนั้น การแข่งขันในตลาดเม็ด
พลาสติก PET จึงขึ้นอยู่กับปัจจัยทางด้านราคาเป็นหลัก และปัจจัยที่มีความสำคัญรองลงมาคือความน่าเชื่อถือความ
สม่ำเสมอของคุณภาพและคุณสมบัติเฉพาะของผลิตภัณฑ์ รวมถึงระยะเวลาการส่งมอบสินค้า บริษัทฯ เชื่อว่าการดำเนิน
กิ จ การโดยมี น โยบายในการรวมการดำ เนิ น ธุ ร กิ จ ในแนวตั้ ง จะทำ ให้ บ ริ ษั ท ฯ มี ข้ อ ได้ เ ปรี ย บในการแข่ ง ขั น เนื่ อ งจาก
แหล่งที่มาของวัตถุดิบของบริษัทฯ มีความแน่นอน และบริษัทฯ สามารถควบคุมราคาของวัตถุดิบหลักซึ่งได้แก่ PTA ได้
สหภาพยุโรปมีการจัดเก็บภาษีเพื่อตอบโต้การทุ่มตลาดของเม็ดพลาสติก PET ที่นำเข้าจากประเทศต่างๆ ใน
เอเชีย รวมถึง ประเทศไทย นอกจากนี้ สหรัฐอเมริกายังกำหนดให้มีการเก็บภาษีนำเข้าเม็ดพลาสติก PET ที่นำเข้าจาก
ประเทศต่างๆ รวมถึงประเทศไทย โดยมีอัตราภาษีระหว่างร้อยละ 3.0 ถึงร้อยละ 6.5 ทั้งนี้ ภาษีเพื่อตอบโต้การทุ่มตลาด
ภาษีการนำเข้า และค่าขนส่งเม็ดพลาสติก PET ทางเรือจากประเทศผู้ผลิตสู่ตลาดเหล่านี้เป็นปัจจัยที่ทำให้เม็ดพลาสติก
PET ที่นำเข้า แข่งขันกับเม็ดพลาสติก PET ที่ผลิตในท้องถิ่นได้ยากขึ้น ดังนั้น บริษัทฯ เชื่อว่าบริษัทฯ มีข้อได้เปรียบใน
การแข่งขันจากการที่บริษัทฯ มีโรงงานผลิตเม็ดพลาสติก PET ทั้งในทวีปยุโรปและสหรัฐอเมริกา
คู่แข่งที่สำคัญของบริษัทฯ ในตลาดยุโรปได้แก่ La Seda de Barcelona, Equipolymers และ Neo Group
คู่แข่งที่สำคัญของบริษัทฯ ในตลาดอเมริกาเหนือได้แก่ M&G Group (ซึ่งเป็นผู้ผลิตเม็ดพลาสติก PET รายใหญ่ที่สุดใน
โลก โดยวัดจากกำลังการผลิต), Eastman Chemical Company, DAK Americas LLC และ INVISTA ในส่วนของคู่แข่ง
ที่สำคั ญของบริ ษัท ฯ ในตลาดในประเทศนั้ น ได้ แ ก่ บจ. ไทยชิ นกงอิ นดั ส ตรี คอร์ ปอเรชั่น บจ. ไทย เพ็ ท เรซิน และ
บมจ. บางกอก โพลีเอสเตอร์ ทั้งนี้ แม้ว่าการอนุญาตให้ใช้สิทธิทางพาณิชย์เป็นช่องทางให้นำเทคโนโลยีการผลิต PET
มาใช้ประโยชน์ได้ แต่บริษัทฯ เชื่อว่าจำนวนเงินลงทุนทั้งหมดที่จำเป็นสำหรับการทำธุรกิจกิจแบบประหยัดต่อขนาดเพื่อ
ทำกำไรนั้นอาจสกัดกั้นผู้ลงทุนรายใหม่จากการเข้าสู่ตลาดได้

2. กลุ่มธุรกิจเส้นใยและเส้นด้ายโพลีเอสเตอร์
การแข่ ง ขั น ในอุ ต สาหกรรมโพลี เ อสเตอร์ ใ นระดั บ โลก สามารถจำ แนกได้ ต มลั ก ษณะการประกอบธุ ร กิ จ ใน
รูปแบบของบริษัทขนาดใหญ่ที่ประกอบอุตสาหกรรมที่หลากหลาย และในรูปแบบของผู้ผลิตสินค้าเฉพาะกลุ่มที่มีขนาด
ค่อนข้างเล็กจำนวนมากที่มีกำลังการผลิตน้อยกว่า 10,000 ตันต่อปี โดยปกติแล้ว ผู้ผลิตโพลีเอสเตอร์รายใหญ่จะมุ่งเน้น
การจำหน่ายเส้นใยมาตรฐานปริมาณมากให้กับตลาดภายในประเทศ ซึ่งมีอัตราการแข่งขันสูงและการแข่งขันดังกล่าว
ขึ้นอยู่กับปัจจัยด้านราคาเป็นหลัก และปัจจัยรองลงมาคือ ความสม่ำเสมอในการคงคุณภาพของผลิตภัณฑ์และคุณสมบัติ
เฉพาะของผลิตภัณฑ์ รวมถึงระยะเวลาในการส่งมอบสินค้า บริษัทฯ มีความตั้งใจที่จะดำเนินธุรกิจแบบรวมตัวในแนวตั้ง
ต่อไป ซึ่งบริษั ทฯ เชื่ อว่าจะทำให้ บริษัทฯ มีข้อได้เปรีย บในการแข่ง ขันเนื่อ งจากบริษัทฯ มีแหล่ งวัตถุดิ บที่มั่นคง และ
(ยังมีต่อ)