ข่าวแจ้งสื่อมวลชน
อินโดรามา เวนเจอร์ตั้งเป้า เพิ่มกำลังการผลิต 2 เท่าในปี 2557 คิดเป็นมูลค่า 3.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ
กรุงเทพ - 17 ธันวาคม 2553- บมจ. อินโดรามา เวนเจอร์ หรือ IVL หนึ่งในผู้นำการผลิตโพลีเอสเตอร์ครบวงจรของโลก ตั้งเป้าเพิ่มกำลังการผลิต90 เปอร์เซ็นต์ ในปี พ.ศ. 2557 หรือประมาณ 3,800 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งเพิ่มจากเป้าหมายเดิมที่เคยประกาศก่อนหน้านี้
"เราตั้งเป้าหมายที่จะเป็นผู้นำของอุตสาหกรรมทั้งในแง่ปริมาณการผลิต, นวัตกรรม และการสร้างแบรนด์" นายอาลก โลเฮีย ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกล่าวต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้น
นายโลเฮียกล่าวว่า ก่อนหน้านี้ อินโดรามา ได้ประกาศที่จะลงทุนกว่า 2,000 ล้านเหรียญสหรัฐในระหว่างปี พ.ศ. 2553-2557 เพื่อเพิ่มกำลังผลิตเป็นสองเท่าจากปัจจุบันที่มีกำลังการผลิตอยู่ที่ 3.2 ล้านตัน อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ ได้ขยับเป้าหมายใหม่ที่ต้องการจะเห็นกำลังการผลิตอยู่ที่ 10 ล้านตันภายในปี พ.ศ. 2557
"เราต้องให้น้ำหนักกับสิ่งที่เราพูดก่อนหน้านี้ และเราต้องระมัดระวังในที่เราประกาศออกไป" นายโลฮียกล่าวเพิ่มเติมว่า จากการเจรจาทางธุรกิจ ที่ดำเนินการทั้งหมดจะส่งผลให้ IVL ได้บรรลุเป้าหมาย นายโลเฮียกล่าวว่า สิ่งที่ต้องให้ความสนใจคือการรวมตลาดซึ่งเมื่อเร็ว ๆ นี้ IVL ได้เข้าซื้อกิจการในหลายประเทศทั้ง โปแลนด์ และอินโดนีเซีย
ก่อนหน้านี้ในช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา IVL ได้ร่วมเซ็นสัญญากับบริษัท เอสเค เคมิคอล จำกัด (SK Chemical Company Limited) ประเทศเกาหลีเพื่อซื้อกิจการในบริษัทเอสเค ยูโรเคม จำกัด (SK Eurochem Sp. z o.o.) ประเทศโปแลนด์, บริษัท พี ที เอสเค กริช จำกัด และบริษัท พี ที เอสเค ไฟเบอร์ จำกัดประเทศอินโดนีเซีย
ซึ่งการเข้าซื้อกิจการดังกล่าวจะช่วยเพิ่มความแข็งแกร่งให้แก่ อินโดรามาเวนเจอร์สในตลาดสำคัญของยุโรปตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำหรับธุรกิจ PET เส้นใยโพลีเอสเตอร์และด้าย บริษัท เอสเค ยูโรเคม เป็นผู้ผลิต PET ที่มีกำลังการผลิตอยู่ที่ 140,000 ตันต่อปี ในขณะที่บริษัท พี ที เอสเค กริช เป็นผู้ผลิต PET และเส้นด้ายโพลีเอสเตอร์โดยมีกำลังการผลิตอยู่ที่ 160,000 ตันต่อปีและบริษัท พี ที เอสเคไฟเบอร์ อินโดนีเซียมีกำลังการผลิตเส้นด้ายโพลีเอสเตอร์ 36,000 ตันต่อปี
ก่อนหน้านี้ บริษัทฯได้ประกาศที่จะเข้าซื้อกิจการในประเทศ จีนและยังตั้งเป้าที่จะเริ่มดำเนินธุรกิจในประเทศอินเดียด้วย นอกจากนี้ในเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา บริษัท ฯยังได้เซ็นสัญญาซื้อโรงงานผลิต PET โพลีเมอร์ และเรซิน ในสปาร์แทนบรู๊ก เอส.ซี. และ เกเรตาโร ในประเทศแมกซิโก ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ อินวิสต้า บี.วี. โดยการเข้าซื้อกิจการในครั้งนี้มีมูลค่า 420 ล้านเหรียญสหรัฐ ไม่รวมภาระหนี้สินบางรายการ และอีก 229 ล้านเหรียญสำหรับสินทรัพย์ถาวร รวมทั้ง 174 ล้านเหรียญสหรัฐในส่วนทุนของเครือข่ายธุรกิจ
การเข้าซื้อกิจการเหล่านี้รวมทั้งโครงการ กรีนฟิลด์มูลค่ารวมกว่า 900 ล้านเหรียญสหรัฐ เป็นส่วนหนึ่งในแผนการลงทุนก่อนหน้านี้ และยังมีอีกส่วนหนึ่งที่จะใช้ลงทุนในประเทศอินเดียที่คาดว่าจะเริ่มดำเนิน การได้ในปีหน้า
"เรายังมีเงินลงทุนอีก 2,900 ล้านเหรียญสหรัฐที่จะใช้ในระหว่าง พ.ศ. 2554-2557 โดยที่เราไม่จำเป็นต้องเพิ่มทุน" เขากล่าวว่าภายหลังจากที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทอนุมัติการออกใบแสดงสิทธิใน การซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้(TSRs) จำนวนไม่เกิน 481,585,672 หน่วยที่ราคา 36 บาทต่อหุ้นเพื่อจัดสรรให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมโดยไม่คิดมูลค่า ในอัตราการจัดสรรเท่ากับ 9 หุ้นเดิม ต่อ 1 TSR
นายโลเฮียกล่าวว่า ความต้องการเส้นใยโพลีเอสเตอร์ยังมีอยู่อย่างมา เนื่องจากสามารถใช้เป็นวัตถุดิบทดแทนได้ในหลายอุตสาหกรรม เช่น ฝ้ายในอุตสาหกรรมสิ่งทอ และอลูมิเนียมในอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์
เส้นใยโพลีเอสเตอร์ได้ถูกนำมาทดแทนฝ้ายในอุตสาหกรรมการผลิตสิ่งทอ เหตุเนื่องมาจากการขาดแคลนฝ้ายในตลาดโลก โดยมีสาเหตุมาจากอุทกภัยในพื้นที่ต่าง ๆ ขณะที่ PET ได้ถูกนำมาใช้ทดแทนแก้วและอลูมิเนียมในอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ โดยเส้นใยดพลีเอสเตอร์และ PET ยังได้รับการรับรองว่าเป็นวัตุดิบที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมด้วย
นายอาลก กล่าวว่า ปัจจัยดังกล่าวช่วยเพิ่มโอกาสที่ดียิ่งในการขยายธุรกิจของบริษัท ฯ และนี่เป็นอีกเหตุผลของการวางแผนที่จะซื้อกิจการ กรีนฟิลด์, บราวน์ฟิลด์ ใน2-3 ปีข้างหน้า
เขากล่าวว่า การเข้าซื้อกิจการต่าง ๆ เพิ่มมูลค่าสินทรัพย์จากราคาเฉลี่ย 450 เหรียญ/ตันให้สูงถึง 572 เหรียญ/ตัน
"เราซื้อกิจการได้ในราคาที่ต่ำกว่า ราคาที่สินทรัพย์จริง ซึ่งเป็นเรื่องง่ายที่จะเพิ่มมูลค่าสินทรัพย์ให้กับองค์กร" นายโลเฮียยังกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า กรีนฟิลด์จะเป็นอีกหนึ่งโครงการที่มีมุลค่าสินทรัพยืเฉลี่ย 650 เหรียญ/ตัน
นายโลเฮียและครอบครัวถือหุ้นกว่า 70 เปอร์เซนต์ ใน IVL กล่าวว่า ครอบครัวของเขาจะจองหุ้น TSR ที่ออกใหม่
การ ระดมทุนครั้งนี้จะใช้เพื่อการขยายธุรกิจ เพื่อการเข้าวื้อกิจการในระหว่าง 2-3 ปีข้างหน้านี้ เพื่อขยายขนาดธุรกิจและรักษาระดับหนี้สินต่อทุนให้อยู่ระหว่าง 1:1 ขณะที่ผลตอบแทนในการลงทุนมีมากกว่า 16 เปอร์เซนต์ในช่วงเวลา 7 ไตรมาสที่ผ่านมา
"เราตั้งเป้าหมายที่จะเป็นผู้นำของอุตสาหกรรมทั้งในแง่ปริมาณการผลิต, นวัตกรรม และการสร้างแบรนด์" นายอาลก โลเฮีย ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกล่าวต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้น
นายโลเฮียกล่าวว่า ก่อนหน้านี้ อินโดรามา ได้ประกาศที่จะลงทุนกว่า 2,000 ล้านเหรียญสหรัฐในระหว่างปี พ.ศ. 2553-2557 เพื่อเพิ่มกำลังผลิตเป็นสองเท่าจากปัจจุบันที่มีกำลังการผลิตอยู่ที่ 3.2 ล้านตัน อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ ได้ขยับเป้าหมายใหม่ที่ต้องการจะเห็นกำลังการผลิตอยู่ที่ 10 ล้านตันภายในปี พ.ศ. 2557
"เราต้องให้น้ำหนักกับสิ่งที่เราพูดก่อนหน้านี้ และเราต้องระมัดระวังในที่เราประกาศออกไป" นายโลฮียกล่าวเพิ่มเติมว่า จากการเจรจาทางธุรกิจ ที่ดำเนินการทั้งหมดจะส่งผลให้ IVL ได้บรรลุเป้าหมาย นายโลเฮียกล่าวว่า สิ่งที่ต้องให้ความสนใจคือการรวมตลาดซึ่งเมื่อเร็ว ๆ นี้ IVL ได้เข้าซื้อกิจการในหลายประเทศทั้ง โปแลนด์ และอินโดนีเซีย
ก่อนหน้านี้ในช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา IVL ได้ร่วมเซ็นสัญญากับบริษัท เอสเค เคมิคอล จำกัด (SK Chemical Company Limited) ประเทศเกาหลีเพื่อซื้อกิจการในบริษัทเอสเค ยูโรเคม จำกัด (SK Eurochem Sp. z o.o.) ประเทศโปแลนด์, บริษัท พี ที เอสเค กริช จำกัด และบริษัท พี ที เอสเค ไฟเบอร์ จำกัดประเทศอินโดนีเซีย
ซึ่งการเข้าซื้อกิจการดังกล่าวจะช่วยเพิ่มความแข็งแกร่งให้แก่ อินโดรามาเวนเจอร์สในตลาดสำคัญของยุโรปตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำหรับธุรกิจ PET เส้นใยโพลีเอสเตอร์และด้าย บริษัท เอสเค ยูโรเคม เป็นผู้ผลิต PET ที่มีกำลังการผลิตอยู่ที่ 140,000 ตันต่อปี ในขณะที่บริษัท พี ที เอสเค กริช เป็นผู้ผลิต PET และเส้นด้ายโพลีเอสเตอร์โดยมีกำลังการผลิตอยู่ที่ 160,000 ตันต่อปีและบริษัท พี ที เอสเคไฟเบอร์ อินโดนีเซียมีกำลังการผลิตเส้นด้ายโพลีเอสเตอร์ 36,000 ตันต่อปี
ก่อนหน้านี้ บริษัทฯได้ประกาศที่จะเข้าซื้อกิจการในประเทศ จีนและยังตั้งเป้าที่จะเริ่มดำเนินธุรกิจในประเทศอินเดียด้วย นอกจากนี้ในเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา บริษัท ฯยังได้เซ็นสัญญาซื้อโรงงานผลิต PET โพลีเมอร์ และเรซิน ในสปาร์แทนบรู๊ก เอส.ซี. และ เกเรตาโร ในประเทศแมกซิโก ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ อินวิสต้า บี.วี. โดยการเข้าซื้อกิจการในครั้งนี้มีมูลค่า 420 ล้านเหรียญสหรัฐ ไม่รวมภาระหนี้สินบางรายการ และอีก 229 ล้านเหรียญสำหรับสินทรัพย์ถาวร รวมทั้ง 174 ล้านเหรียญสหรัฐในส่วนทุนของเครือข่ายธุรกิจ
การเข้าซื้อกิจการเหล่านี้รวมทั้งโครงการ กรีนฟิลด์มูลค่ารวมกว่า 900 ล้านเหรียญสหรัฐ เป็นส่วนหนึ่งในแผนการลงทุนก่อนหน้านี้ และยังมีอีกส่วนหนึ่งที่จะใช้ลงทุนในประเทศอินเดียที่คาดว่าจะเริ่มดำเนิน การได้ในปีหน้า
"เรายังมีเงินลงทุนอีก 2,900 ล้านเหรียญสหรัฐที่จะใช้ในระหว่าง พ.ศ. 2554-2557 โดยที่เราไม่จำเป็นต้องเพิ่มทุน" เขากล่าวว่าภายหลังจากที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทอนุมัติการออกใบแสดงสิทธิใน การซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้(TSRs) จำนวนไม่เกิน 481,585,672 หน่วยที่ราคา 36 บาทต่อหุ้นเพื่อจัดสรรให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมโดยไม่คิดมูลค่า ในอัตราการจัดสรรเท่ากับ 9 หุ้นเดิม ต่อ 1 TSR
นายโลเฮียกล่าวว่า ความต้องการเส้นใยโพลีเอสเตอร์ยังมีอยู่อย่างมา เนื่องจากสามารถใช้เป็นวัตถุดิบทดแทนได้ในหลายอุตสาหกรรม เช่น ฝ้ายในอุตสาหกรรมสิ่งทอ และอลูมิเนียมในอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์
เส้นใยโพลีเอสเตอร์ได้ถูกนำมาทดแทนฝ้ายในอุตสาหกรรมการผลิตสิ่งทอ เหตุเนื่องมาจากการขาดแคลนฝ้ายในตลาดโลก โดยมีสาเหตุมาจากอุทกภัยในพื้นที่ต่าง ๆ ขณะที่ PET ได้ถูกนำมาใช้ทดแทนแก้วและอลูมิเนียมในอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ โดยเส้นใยดพลีเอสเตอร์และ PET ยังได้รับการรับรองว่าเป็นวัตุดิบที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมด้วย
นายอาลก กล่าวว่า ปัจจัยดังกล่าวช่วยเพิ่มโอกาสที่ดียิ่งในการขยายธุรกิจของบริษัท ฯ และนี่เป็นอีกเหตุผลของการวางแผนที่จะซื้อกิจการ กรีนฟิลด์, บราวน์ฟิลด์ ใน2-3 ปีข้างหน้า
เขากล่าวว่า การเข้าซื้อกิจการต่าง ๆ เพิ่มมูลค่าสินทรัพย์จากราคาเฉลี่ย 450 เหรียญ/ตันให้สูงถึง 572 เหรียญ/ตัน
"เราซื้อกิจการได้ในราคาที่ต่ำกว่า ราคาที่สินทรัพย์จริง ซึ่งเป็นเรื่องง่ายที่จะเพิ่มมูลค่าสินทรัพย์ให้กับองค์กร" นายโลเฮียยังกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า กรีนฟิลด์จะเป็นอีกหนึ่งโครงการที่มีมุลค่าสินทรัพยืเฉลี่ย 650 เหรียญ/ตัน
นายโลเฮียและครอบครัวถือหุ้นกว่า 70 เปอร์เซนต์ ใน IVL กล่าวว่า ครอบครัวของเขาจะจองหุ้น TSR ที่ออกใหม่
การ ระดมทุนครั้งนี้จะใช้เพื่อการขยายธุรกิจ เพื่อการเข้าวื้อกิจการในระหว่าง 2-3 ปีข้างหน้านี้ เพื่อขยายขนาดธุรกิจและรักษาระดับหนี้สินต่อทุนให้อยู่ระหว่าง 1:1 ขณะที่ผลตอบแทนในการลงทุนมีมากกว่า 16 เปอร์เซนต์ในช่วงเวลา 7 ไตรมาสที่ผ่านมา