ข่าวแจ้งสื่อมวลชน
อินโดรามา เวนเจอร์ส จับมือพันธมิตรพัฒนาห่วงโซ่อุปทานผลิตเส้นใยโพลีเอสเตอร์ที่ยั่งยืนมากขึ้นเป็นครั้งแรกของโลก
ใช้วัสดุที่มาจาก CO2 เป็นหลัก รวมถึงวัสดุหมุนเวียนและชีวภาพ ภายใต้ความร่วมกันของ 7 บริษัท จาก 5 ประเทศ
กรุงเทพฯ ประเทศไทย - 11 กรกฎาคม 2567 - อินโดรามา เวนเจอร์ส บริษัทเคมีภัณฑ์ชั้นนำระดับโลกที่ดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน ได้เข้าร่วมเป็นพันธมิตรกับบริษัท 7 แห่ง จาก 5 ประเทศ เพื่อก่อตั้งห่วงโซ่อุปทานสำหรับการผลิตเส้นใย โพลีเอสเตอร์ที่ยั่งยืนมากขึ้น ซึ่งหมายความว่าวัสดุที่สามารถหมุนเวียนได้และวัสดุที่มาจากชีวภาพ รวมถึงวัสดุที่ผลิตผ่านการดักจับการใช้ประโยชน์และการกักเก็บคาร์บอน (CCU para-xylene)*2 จะถูกนำมาใช้ในการผลิตเส้นใยโพลีเอสเตอร์สำหรับ แบรนด์ THE NORTH FACE ในประเทศญี่ปุ่น แทนที่จะใช้วัสดุจากฟอสซิล นอกเหนือจาก อินโดรามา เวนเจอร์ส ซึ่งเป็นตัวแทนจากประเทศไทย พันธมิตรที่เข้าร่วมโครงการนำร่องนี้ ได้แก่ Goldwin ในบทบาทของเจ้าของโครงการ Mitsubishi Corporation, Chiyoda Corporation (ทั้งสามจากประเทศญี่ปุ่น), SK geo centric (เกาหลีใต้), India Glycols (อินเดีย) และ Neste (ฟินแลนด์)
เส้นใยโพลีเอสเตอร์ที่ผลิตจากโครงการนี้มีแผนที่จะใช้โดย Goldwin บริษัทชั้นนำของญี่ปุ่นที่เชี่ยวชาญในการออกแบบและผลิตเสื้อผ้ากีฬาและเสื้อผ้ากลางแจ้งประสิทธิภาพสูง โดยจะเป็นส่วนหนึ่งของผลิตภัณฑ์ภายใต้แบรนด์ THE NORTH FACE ซึ่งรวมถึงเครื่องแบบกีฬาที่จะเริ่มต้นใช้ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2567 หลังจากนั้นจะพิจารณาเปิดตัวผลิตภัณฑ์และแบรนด์อื่นๆ ภายใต้แบรนด์ Goldwin ซึ่งมีชื่อเสียงในด้านนวัตกรรม คุณภาพ และความมุ่งมั่นในการพัฒนาอย่างยั่งยืน
ทั้ง 7 บริษัทนี้ ได้นำแนวทางการจัดการวัสดุแบบสมดุลมวลสาร (mass balancing approach) มาใช้ เพื่อให้แน่ใจว่าสามารถติดตามแหล่งที่มาของวัสดุได้ตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน และจะร่วมกันส่งเสริมการลดการใช้วัสดุจากฟอสซิลอย่างเต็มที่ เพื่อมีส่วนร่วมในการสร้างสังคมที่ยั่งยืนมากขึ้น
ยาช โลเฮีย ประธานบริหารโครงการพิเศษด้านปิโตรเคมี (Petchem Special Projects) อินโดรามา เวนเจอร์ส แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับความร่วมมือครั้งนี้ว่า "เราภูมิใจที่ได้ร่วมมือกับพันธมิตรที่มีชื่อเสียงในโครงการริเริ่มที่ก้าวล้ำนี้ ที่อินโดรามา เวนเจอร์ส เรามุ่งมั่นอย่างยิ่งในการพัฒนาโซลูชั่นที่ยั่งยืน และโครงการนี้เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนถึงความทุ่มเทของเราในด้านนวัตกรรมและการดูแลสิ่งแวดล้อม และการก้าวไปสู่ 'วิสัยทัศน์ 2030' ของอินโดรามา เวนเจอร์ส โดยการใช้วัสดุที่ได้จาก CO2 ทรัพยากรที่สามารถหมุนเวียนได้ และทางเลือกที่มาจากชีวภาพ ความพยายามร่วมกันนี้แสดงให้เห็นถึงพลังของความร่วมมือระดับโลกในการสร้างอนาคตที่ยั่งยืนมากขึ้นสำหรับอุตสาหกรรมสิ่งทอและอื่นๆ ต่อไป"
สรุปคำนิยาม:
*1 ครั้งแรกของโลก
สิ่งนี้หมายถึงครั้งแรกที่มีการนำ CCU para-xylene (ซึ่งสังเคราะห์โดยตรงจาก CO2) มาใช้ และเป็นครั้งแรกที่มีการผลิตโพลีเอสเตอร์โดยไม่ใช้วัสดุจากฟอสซิล โดยความร่วมมือระหว่างบริษัทผู้ผลิตวัสดุต้นน้ำและบริษัทผลิตเครื่องแต่งกายปลายน้ำ ผ่านกระบวนการจัดการวัสดุแบบสมดุลมวล ตามการวิจัยของบริษัทต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
*2 CCU para-xylene
ในการผลิตพาราไซลีนที่ได้มาจาก CO2 เป็นวัตถุ มหาวิทยาลัย Toyama บริษัท HighChem บริษัท Nippon Steel Engineering บริษัท Nippon Steel Corporation บริษัท Chiyoda Corporation และบริษัท Mitsubishi Corporation ได้รับรางวัลจากโครงการ NEDO (New Energy and Industrial Technology Development Organization) ปี 2563 ในสาขา "Technology Development for Carbon Recycling and Next Generation Thermal Power Generation/Technology Development for CO2 Emission Reduction and Effective Utilization" และกำลังดำเนินการวิจัยและพัฒนาร่วมกัน โดยโครงการนี้เป็นการจัดหาพาราไซลีนที่ได้จาก CO2 เป็นการทดสอบ ซึ่งได้ผลิตในกระบวนการของโรงงานสาธิตที่ตั้งอยู่ใน Chiyoda Corporation's Koyasu Research Park ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2565
*3 การจัดการวัสดุแบบสมดุลมวล / แนวทางการจัดการวัสดุแบบสมดุลมวล
กระบวนการที่ติดตามปริมาณและลักษณะความยั่งยืนของวัสดุ และช่วยให้สามารถจัดสรรวัสดุเหล่านั้นไปยังส่วนที่เฉพาะเจาะจงของผลิตภัณฑ์ได้อย่างสมดุลตามสัดส่วนของวัตถุดิบที่มีลักษณะความยั่งยืนเมื่อผสมกับวัสดุอื่นๆ ในกระบวนการผลิตและการกระจายสินค้า