ข่าวแจ้งสื่อมวลชน
อินโดรามา เวนเจอร์ส ลงนามความร่วมมือกับ The Recycling Partnership เพื่อส่งเสริมระบบการรีไซเคิลในสหรัฐอเมริกา
กรุงเทพฯ - 21 พฤศจิกายน 2562 - บริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส จำกัด (มหาชน) หรือ ไอวีแอล บริษัทเคมีภัณฑ์ชั้นนำระดับโลก ประกาศลงนามความร่วมมือกับ The Recycling Partnership ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรชั้นนำที่มุ่งสร้างการเปลี่ยนแปลงทางสิ่งแวดล้อม และเป็นผู้นำในการพัฒนากระบวนการรีไซเคิลในสหรัฐอเมริกา ความร่วมมือของไอวีแอลและพันธมิตรการรีไซเคิลนี้จะช่วยส่งเสริมอัตราการรีไซเคิลในครัวเรือนสหรัฐ และช่วยเพิ่มปริมาณ PET รีไซเคิล เพื่อสนับสนุนปฏิญญาระดับโลกที่ต้องการเพิ่มการใช้งานผลิตภัณฑ์รีไซเคิลในการผลิต
The Recycling Partnership นับเป็นหน่วยงานเพียงหนึ่งเดียวในสหรัฐอเมริกาที่ทำงานร่วมกับองค์กรต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องห่วงโซ่การรีไซเคิลอย่างเต็มรูปแบบ เริ่มตั้งแต่ผู้ผลิตสินค้าและบรรจุภัณฑ์ รัฐบาลท้องถิ่นที่มีรับผิดชอบการนำขยะไปรีไซเคิล ไปจนถึงถึงตลาดปลายทางของอุตสาหกรรม ผู้ขนส่ง โรงงานแยกชิ้นส่วนวัสดุ และผู้แปรรูป โดยอินโดรามา เวนเจอร์สเป็นหนึ่งใน 46 องค์กรที่สนับสนุนพันธมิตรเพื่อการรีไซเคิล ร่วมกับบริษัทชั้นนำอย่างเป๊ปซี่โค โคคา-โคล่า ทาร์เก็ต อเมซอน เก้อริค-ด็อกเตอร์เป็ปเปอร์ บอล และคอลเกต-ปาล์มโอลีฟ ซึ่งต่างมุ่งมั่นที่จะเปลี่ยนแปลงระบบการรีไซเคิลในสหรัฐอเมริกาให้ดีขึ้นเพื่อประโยชน์ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ ชุมชน และโลก
การร่วมมือครั้งนี้สอดคล้องตามยุทธศาสตร์และเป้าหมายระยะยาวของไอวีแอลในด้านความยั่งยืน และช่วยขับเคลื่อนองค์กรเพิ่มเติมตามวิสัยทัศน์ที่มุ่งสู่การเป็นบริษัทเคมีภัณฑ์ชั้นนำระดับโลก สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่ดีเพื่อสังคม อินโดรามา เวนเจอร์สมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนและความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมทั่วโลก โดยเชื่อมั่นว่าการรีไซเคิลบรรจุภัณฑ์ PET เป็นหนึ่งในทางเลือกที่มีความรับผิดชอบในการปกป้องทรัพยากรและลดจำนวนบรรจุภัณฑ์ PET ที่จะถูกนำไปฝังกลบ ซึ่งอินโดรามา เวนเจอร์สได้ดำเนินการและลงทุนในการรีไซเคิลระดับโลก
“ความยั่งยืนและความรับผิดชอบต่อสังคมเป็นเป้าหมายสำคัญของไอวีแอลเสมอมา” นายยาโชวาดัน โลเฮีย กรรมการบริหาร และประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านรีไซเคิลบริษัท อินโดรามา เวนเจอร์สกล่าว “การรีไซเคิล PET เป็นแกนหลักในการส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียนให้เกิดขึ้นจริงทั่วโลก ซึ่งนั่นก็เป็นเหตุผลที่เรากำลังเตรียมการลงทุนด้วยงบ 1.5 พันล้านเหรียฐสหรัฐ เพื่อรองรับการพัฒนาและขยายการรีไซเคิลทั่วโลก ผ่านความร่วมมือกับพันธมิตรต่างๆ อย่างเช่น The Recycling Partnership นี้ ทั้งนี้ การสนับสนุนงานขององค์กรที่สามารถขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นจริงและวัดผลได้ เพื่อจะสามารถรวบรวมวัสดุรีไซเคิลจากชุมชนทั่วทั้งสหรัฐอเมริกาให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะสามารถทำได้นั้น นับเป็นสิ่งสำคัญยิ่งสำหรับผู้ผลิตอย่างอินโดรามา เวนเจอร์ส ซึ่งต้องการลดปริมาณ PET ที่ถูกนำไปฝังกลบและเสียคุณค่าในการรีไซเคิลไป เรารู้สึกยินดีกับการเข้าร่วมครั้งนี้อย่างมาก รวมทั้งยินดีที่จะได้ร่วมงานกับทุกฝ่ายเพื่อเปลี่ยนแปลงระบบการรีไซเคิลในสหรัฐอเมริกาด้วยเศรษฐกิจหมุนเวียนแบบใหม่ที่จะนำพาไปสู่อณาคตที่ยั่งยืน”
“เรารู้สึกยินดีที่อินโดรามา เวนเจอร์สได้เข้าร่วมพันธมิตรกับ The Recycling Partnership เพื่อสนับสนุนพันธกิจที่จะทำการรีไซเคิลในสหรัฐเมริกานั้นง่ายดายเช่นเดียวกับการทิ้งขยะทั่วไป” Mr. Keefe Harrison, ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร The Recycling Partnership กล่าว “เราต่างมีส่วนรับผิดชอบด้วยกันทั้งหมด และการลงทุนจากอินโดรามา เวนเจอร์สจะนำไปสู่การพัฒนาความสะดวกและการเข้าถึงการรีไซเคิลสำหรับชาวอเมริกัน พร้อมด้วยความรู้ที่จะช่วยส่งเสริมการรีไซเคิลให้มากขึ้นและดีขึ้น การเปลี่ยนแปลงกระบวนการรีไซเคิลของสหรัฐอเมริกาถือเป็นก้าวสำคัญในการสร้างระบบที่จะลดจำนวนทรัพยากรผลิตใหม่ให้น้อยที่สุด และวัสดุต่างๆ จะสามารถนำไปรีไซเคิลเพื่อประโยชน์ที่ไม่สิ้นสุดต่อไป”
# # #
เกี่ยวกับ อินโดรามา เวนเจอร์ส
บริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส จำกัด (มหาชน) เป็นบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (Bloomberg ticker IVL.TB) เป็นหนึ่งในบริษัทปิโตรเคมีชั้นนำระดับโลก มีโรงงานผลิตครอบคลุมภูมิภาคหลักทั่วโลก ได้แก่ แอฟริกา เอเชีย ยุโรปและอเมริกาเหนือ โดยมีกลุ่มธุรกิจหลัก ประกอบด้วย ธุรกิจ Integrated PET ธุรกิจโอเลฟินส์ ธุรกิจเส้นใย ธุรกิจบรรจุภัณฑ์และธุรกิจเคมีภัณฑ์ชนิดพิเศษ (Specialty Chemicals) ผลิตภัณฑ์ของไอวีแอลรองรับลูกค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภค อาหารและเครื่องดื่ม ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขอนามัย ผลิตภัณฑ์เพื่อการดูแลส่วนบุคคล และอุตสาหกรรมยานยนต์ อาทิ ผลิตภัณฑ์ยางในรถยนต์และผลิตภัณฑ์ด้านความปลอดภัย ปัจจุบันบริษัทฯ มีพนักงานทั่วโลกราว 20,000 คนและมีรายได้จากการขายรวม 10.7 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2561 บริษัทฯ เป็นสมาชิกดัชนีดาวโจนส์ (DJSI) และมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงเทพฯ ประเทศไทยและมีโรงงานทั่วโลก อันได้แก่
ยุโรป ตะวันออกกลางและแอฟริกา: | เนเธอร์แลนด์ เยอรมนี สาธารณรัฐไอร์แลนด์ ฝรั่งเศส อังกฤษ อิตาลี เดนมาร์ก ลิทัวเนีย โปแลนด์ สาธารณรัฐเช็ก ลักเซมเบิร์ก สเปน ตุรกี ไนจีเรีย กานา โปรตุเกส อิสราเอล อียิปต์ รัสเซีย สโลวาเกีย ออสเตรีย บัลกาเรีย |
อเมริกา: | สหรัฐอเมริกา เม็กซิโก แคนาดา บราซิล |
เอเชีย: | ไทย อินโดนีเซีย จีน อินเดีย ฟิลิปปินส์ เมียนมาร์ |
เกี่ยวกับ The Recycling Partnership
The Recycling Partnership (recyclingpartnership.org) เป็นองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไรระดับชาติ ที่ยกระดับการระดมทุนจากองค์กรที่มีจุดมุ่งหมายเดียวกันนำมาปฏิรูปกระบวนการการรีไซเคิลใน รัฐ เมือง และชุมชนทั่วทั้งสหรัฐอเมริกา พันธมิตรเพื่อการรีไซเคิลนี้เป็นหน่วยงานเดียวในสหรัฐอเมริกาที่ทำงานข้องเกี่ยวกับห่วงโซ่การรีไซเคิลอย่างเต็มรูปแบบ เริ่มต้นจากองค์กรผู้ผลิตสินค้าและบรรจุภัณฑ์ รัฐบาลท้องถิ่นที่มีส่วนรับผิดชอบการรีไซเคิล ไปจนถึงตลาดสิ้นอุตสาหกรรม ผู้ขนส่ง สถานที่กอบกู้วัสดุ และผู้แปรรูป พันธมิตรเพื่อการรีไซเคิลนี้ส่งผลเชิงบวกกับทุกๆ ขั้นตอนที่เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการรีไซเคิล พันธมิตรเพื่อการรีไซเคิลรองรับชุมชนมากกว่า 1,300 แห่งด้วย เครื่องมือ ข้อมูล ทรัพยากร และการสนับสนุนทางเทคนิค มีเครือข่ายรถเข็นรีไซเคิลมากกว่า 600,000 คัน และเข้าถึงบ้านกว่า 60 หลังคาเรือน ช่วยเหลือบริษัทและชุมชนโดยลงทุนกว่า 43 ล้านเหรียนสหรัฐในโครงสร้างพื้นฐานของระบบการรีไซเคิล พันธมิตรเพื่อการรีไซเคิลได้สร้างการเปลี่ยนแปลงทางสังคม สภาพแวดล้อม และเศรษฐกิจที่มีความหมาย โดยคาดว่าจะสามารถเก็บขยะนำมารีไซเคิลได้ 230 ล้านตัน ลดการใช้น้ำ 465 ล้านแกลลอน ลกการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 250,000 เมตริกตัน และอัตราปนเปื้อนได้ตามที่ตั้งเป้าไว้
ติดต่อ
ริชาร์ด โจนส์
โทรศัพท์: +662.661.6661 ต่อ 680
richard.j@indorama.net
นวีนสุดา กระบวนรัตน์
โทรศัพท์: +662.661.6661 ต่อ 247
naweensuda.k@indorama.net
หมายเหตุ:
เอกสารฉบับนี้ประกอบด้วย “ข้อความที่แสดงถึงการคาดการณ์” เกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของ บริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส จำกัด (มหาชน) บริษัท ซึ่งอ้างอิงจากความเชื่อ สมมติฐาน การคาดการณ์ และการวางแผนในอนาคตของผลการดำเนินงานด้านเศรษฐกิจของผู้บริหารโดยพิจารณาจากข้อมูลปัจจุบันที่มีอยู่ ข้อความใดๆ ที่นำหน้าหรือตามด้วยคำว่า “ตั้งเป้า” “เชื่อ” “คาดหวัง” “มุ่ง” “มุ่งหมาย” “จะ” “อาจจะ” “คาดการณ์” “ต้องการจะ” “วางแผน” “น่าจะ” “ควรจะ” “ประมาณการ” “มีโครงการ” “คาดว่า” “ประเมินว่า” หรือข้อความอื่นๆ ที่แสดงเจตนาในทางเดียวกัน หรืออยู่ในรูปปฏิเสธในลักษณะดังกล่าว ที่มีการระบุชี้หรือเป็นบอกเป็นนัยถึงข้อความที่แสดงถึงการคาดการณ์ สมมติฐาน การวางแผนและการประมาณการเกี่ยวกับแนวโน้มของตลาดในอนาคต ไม่จำเป็นว่าจะเป็นตัวบ่งชี้ถึงอนาคตหรือผลการดำเนินงานของบริษัทฯ