คำอธิบายและวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ

ที่ IVL002/08/2012
14 สิงหาคม 2555

เรียน กรรมการและผู้จัดการ
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

เรื่อง ขอนำส่งงบการเงินสอบทานสำหรับไตรมาสที่ 2 ของปี 2555 และสำหรับงวด 6 เดือน สิ้นสุดวันที่ 30
มิถุนายน 2555 ของบริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส จำกัด (มหาชน) และคำอธิบายและบทวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ

ทางฝ่ายจัดการของบริษัท ขอนำส่งเอกสารดังต่อไปนี้

1. สำเนางบการเงินสอบทานรวมและงบการเงินสอบทานเฉพาะบริษัท สำหรับไตรมาสที่ 2 ของปี 2555 และสำหรับงวด 6
เดือน สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2555 (ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ)
2. คำอธิบายและบทวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ สำหรับผลการดำเนินงาน สำหรับไตรมาสที่ 2 ของปี 2555
และสำหรับงวด 6 เดือน สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2555 (ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ)
3. รายงานสรุปผลการดำเนินงาน แบบฟอร์ม 45-3 สำหรับผลการดำเนินงาน สำหรับไตรมาสที่ 2 ของปี 2555
และสำหรับงวด 6 เดือน สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2555 (ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ)


จึงเรียนมาเพื่อทราบ

ขอแสดงความนับถือ



(นายอาลก โลเฮีย)
ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัทฯ




เลขานุการบริษัท
โทรศัพท์: +66 (0) 2661-6661
โทรสาร: +66 (0) 2661-6664


บริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส จำกัด (มหาชน)
คำอธิบายและบทวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ
ผลการดำเนินงานสำหรับไตรมาสที่ 2 ปี 2555 และงวด 6 เดือนสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2555


บริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส จำกัด (มหาชน) หรือ IVL รายงานรายได้รวมสำหรับไตรมาสที่ 2 ปี 2555 เท่ากับ
1,741 ล้านเหรียญสหรัฐ กำไรหลักรวมก่อนหักดอกเบี้ย ภาษีเงินได้ ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่าย (Core
EBITDA) 151 ล้านเหรียญสหรัฐ (4,711 ล้านบาท)
กำไรสุทธิหลักรวมหลังหักภาษีเงินได้และส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย
(ไม่รวมรวมรายการพิเศษและกำไรขาดทุนในสินค้าคงเหลือ) เท่ากับ 54 ล้านเหรียญสหรัฐ (1,684 ล้านบาท)
และอัตราผลตอบแทนหลักต่อเงินทุนของบริษัทเฉลี่ยต่อปี เท่ากับ ร้อยละ 11
ฐานะทางการเงินรวมยังคงแข็งแกร่ง ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2555
บริษัทมีอัตราหนี้สินสุทธิจากการดำเนินงานต่อทุนอยู่ที่ร้อยละ 53 [ภายหลังการเข้าซื้อกิจการ Indorama
Ventures (Oxide และ Glycols) Limited ในเดือนเมษายน ปี 2555] และมีสภาพคล่องสูงถึง 917 ล้านเหรียญสหรัฐ
ซึ่งรวมถึงเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด และวงเงินสินเชื่อที่ยังมิได้เบิกใช้

ในไตรมาสที่ 2 ปี 2555 นี้ ปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้น ร้อยละ 13 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1 ปี 2555 จาก 1.19
ล้านตันเป็น 1.35 ล้านตัน ส่งผลให้กำไรหลักรวมก่อนหักดอกเบี้ย ภาษีเงินได้ ค่าเสื่อมราคา
และค่าตัดจำหน่าย (Core EBITDA) เพิ่มขึ้นร้อยละ 80 และกำไรต่อหุ้นหลัก (Core EPS) เพิ่มขึ้นร้อยละ 227
บริษัทได้รวมผลการดำเนินงานของ Indorama Ventures (Oxide และ Glycols) Limited เป็นครั้งแรกในไตรมาสที่
2 ปี 2555 และถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยหลักที่ทำให้กำไรเพิ่มขึ้นในไตรมาสที่ 2 ปี 2555 นี้ Core EBITDA
ต่อตันในไตรมาสที่ 2 ปี 2555 เท่ากับ 112 เหรียญสหรัฐต่อตัน เมื่อเทียบกับ 71
เหรียญสหรัฐต่อตันในไตรมาสที่ 1 ปี 2555

อัตรากำไรของ PTA ในทวีปเอเชียในไตรมาสที่ 2 ปี 2555 ยังคงอยู่ในระดับที่ต่ำ
เนื่องมาจากการคาดการณ์อุปทาน PTA ส่วนเกินในทวีปเอเชีย สัดส่วนการผลิต PTA
ในทวีปเอเชียของบริษัทคิดเป็นร้อยละ 22 ของกำลังการผลิตทั้งหมด ซึ่งเป็นเพียงส่วนเล็กน้อยใน Core EBITDA
ในไตรมาสที่ 2 ปี 2555 หากไม่รวมปริมาณการผลิตและกำไรของ PTA ในทวีปเอเชีย บริษัทจะมี Core EBITDA
ต่อตันสูงถึง 147 เหรียญสหรัฐต่อตันในไตรมาสที่ 2 ปี 2555 ซึ่งเป็นผลมาจากการเข้าซื้อกิจการ Oxide &
Glycols

การลดลงของราคาสินค้าทั่วโลกในไตรมาสที่ 2 ปี 2555 ส่งผลให้บริษัทมีผลขาดทุนจากสินค้าคงเหลือจำนวน 46
ล้านเหรียญสหรัฐ นอกจากนี้ ดอกเบี้ยจ่ายและค่าเสื่อมราคาที่เพิ่มสูงขึ้นเนื่องมาจากการเข้าซื้อกิจการ
Oxide & Glycols เป็นเหตุให้กำไรสุทธิรวมหลังหักภาษีเงินได้และส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย ในไตรมาสที่ 2
ปี 2555 อยู่ที่ 39 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 28 จาก 55 ล้านเหรียญสหรัฐในไตรมาสที่ 1 ปี 2555







ข้อมูลทางการเงินที่สำคัญ
ล้านเหรียญสหรัฐ ล้านบาท
ไตรมาส
2/2555 ไตรมาส
1/2555 ไตรมาส
2/2554 ไตรมาส
2/2555 ไตรมาส
1/2555 ไตรมาส
2/2554
*รายได้จากการขายรวม 1,741 1,696 1,692 54,495 52,551 51,300
PET 1,105 1,122 1,199 34,600 34,776 36,316
โพลีเอสเตอร์ และเส้นใยจากขนสัตว์ 327 349 212 10,227 10,813 6,407
Feedstock 576 469 546 18,022 14,524 16,525
*กำไรหลักรวมก่อนหักดอกเบี้ย ภาษีเงินได้ ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่าย (Core EBITDA) 151
84 181 4,711 2,594 5,476
PET 69 53 127 2,154 1,634 3,853
โพลีเอสเตอร์ และเส้นใยจากขนสัตว์ 27 17 30 836
527 908
Feedstock 53 10 27 1,647 318 816
*กำไรรวมก่อนหักดอกเบี้ย ภาษีเงินได้ ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่าย (EBITDA) 105 98
147 3,271 3,035 4,453
PET 45 59 85 1,398 1,820 2,569
โพลีเอสเตอร์ และเส้นใยจากขนสัตว์ 16 20 23 511
607 711
Feedstock 41 16 41 1,287 492 1,251
กำไรสุทธิหลักรวมหลังหักภาษีเงินได้ และส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย 54 17 114 1,684
517 3,412
กำไรสุทธิหลังหักภาษีเงินได้ และส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย 39 55 79 1,226 1,691
2,366
รายจ่ายฝ่ายทุน (CAPEX) 848 267 65 26,453 8,279 1,966
หนี้สินจากการดำเนินงานสุทธิ 2,111 1,318 1,139 67,172 40,666 35,025
อัตราส่วนหนี้สินจากการดำเนินงานต่อทุน 1.1 0.7 0.6
อัตราความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ย 3.8 5.3 9.3
อัตราผลตอบแทนหลักต่อเงินทุนของบริษัท 11% 5% 18%
อัตราผลตอบแทนต่อเงินทุนของบริษัท 5% 7% 14%
กำไรต่อหุ้นหลักต่อปี (บาท) 1.40 0.43 2.88
กำไรต่อหุ้นต่อปี (บาท) 1.02 1.40 1.97
อ้างถึงข้อสังเกต หน้า 13
*ข้อมูลทางการเงินรวมภายหลังการตัดรายการระหว่างกันในบริษัทในกลุ่ม (หรือระหว่างกลุ่มธุรกิจ)

นับจากไตรมาสนี้เป็นต้นไป บริษัทแบ่งกลุ่มธุรกิจออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มธุรกิจเม็ดพลาสติก PET
กลุ่มธุรกิจเส้นใยและเส้นด้ายโพลีเอสเตอร์และเส้นใยจากขนสัตว์ และกลุ่มธุรกิจ Feedstock ในกลุ่มธุรกิจ
Feedstock ประกอบไปด้วยธุรกิจ PTA และ Oxide & Glycols
ซึ่งใช้เป็นวัตถุดิบหลักสำหรับการผลิตของอีกสองกลุ่มธุรกิจข้างต้น นอกจากนี้ จะไม่มีการปันส่วนกำไรของ
PTA ให้กับกลุ่มธุรกิจ PET และกลุ่มธุรกิจเส้นใยและเส้นด้ายโพลีเอสเตอร์ (ตามสัดส่วนของยอดขาย)
ในไตรมาสนี้เป็นต้นไป และไตรมาสเปรียบเทียบ



ตารางข้างล่างนี้แสดงถึง กำไรรวมก่อนหักดอกเบี้ย ภาษีเงินได้ ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่าย (EBITDA)
และ กำไรหลักรวมก่อนหักดอกเบี้ย ภาษีเงินได้ ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่าย (Core EBITDA)

ล้านเหรียญสหรัฐ ล้านบาท
ไตรมาส
2/2555 ไตรมาส
1/2555 ไตรมาส
2/2554 ไตรมาส
2/2555 ไตรมาส
1/2555 ไตรมาส
2/2554
กำไรรวมก่อนหักดอกเบี้ย ภาษีเงินได้ ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่าย (EBITDA) 105 98 147 3,271
3,035 4,453
(กำไร) ขาดทุน ในสินค้าคงเหลือ 46 (14) 34 1,440 (441) 1023
กำไรหลักรวมก่อนหักดอกเบี้ย ภาษีเงินได้ ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่าย (Core EBITDA) 151 84 181
4,711 2,594 5,476

ตารางข้างล่างนี้แสดงถึงการเคลื่อนไหวจากกำไรสุทธิหลังหักภาษีเงินได้และส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย
ไปกำไรสุทธิหลักรวมหลังหักภาษีเงินได้ และส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย

ล้านเหรียญสหรัฐ ล้านบาท
ไตรมาส
2/2555 ไตรมาส
1/2555 ไตรมาส
2/2554 ไตรมาส
2/2555 ไตรมาส
1/2555 ไตรมาส
2/2554
กำไรสุทธิหลังหักภาษีเงินได้ และส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย 39 55 79 1,226 1,691 2,366
กำไรจากการต่อรองราคาซื้อ - (22) - - (687) -
รายการค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการเข้าซื้อกิจการระหว่างปี 5 1 1 169 24 23
(รายได้)ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับสถานการณ์น้ำท่วม และรายการพิเศษอื่น (37) (2) - (1,150) (71) -
(กำไร) ขาดทุน ในสินค้าคงเหลือ 46 (14) 34 1,440 (441) 1,023
กำไรสุทธิหลักรวมหลังหักภาษีเงินได้ และส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย 54 17 114 1,684 517 3,412

แผนภาพข้างล่างนี้แสดงถึง ความผันผวนในช่วง 18 เดือนที่ผ่านมา โดยจะเห็นได้จากราคาพาราไซลีนที่สูงถึง
1,700 เหรียญสหรัฐต่อตันในเดือนมีนาคม 2554 และลดลงเหลือ 1,200 เหรียญสหรัฐต่อตันในเดือนมิถุนายน 2555
โดยมีการเพิ่มขึ้นและลดลงอย่างมากในระหว่างช่วงเวลาดังกล่าว อัตรากำไร PTA ในทวีปเอเชียในเดือนมิถุนายน
2555 ต่ำสุดเป็นประวัติการณ์อยู่ที่ 50 เหรียญสหรัฐต่อตัน ลดลงอย่างรวดเร็วและต่อเนื่องจากราคาสูงสุดที่
400 เหรียญสหรัฐต่อตัน ในเดือนมีนาคม 2554

ที่มา : บทวิเคราะห์อุตสาหกรรม

รายได้ที่เพิ่มขึ้นในไตรมาสนี้ไม่ได้สะท้อนถึงปริมาณการผลิตที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 13
เนื่องมาจากราคาสินค้าที่ปรับตัวลดลงตามราคาน้ำมันดิบ
และการแข็งค่าของสกุลเงินเหรียญสหรัฐซึ่งส่งผลให้ยอดขายในรูปเงินเหรียญสหรัฐน้อยลง ผลกระทบในไตรมาสที่ 1
และไตรมาสที่ 2 ปี 2555 (บางส่วน) สะท้อนถึงการหยุดดำเนินงานของโรงงานที่จังหวัดลพบุรี (ยอดขาย 12
เดือนสิ้นสุดไตรมาสที่ 3 ปี 2554 เท่ากับ 325 ล้านเหรียญสหรัฐ)
ซึ่งเริ่มเปิดดำเนินงานบางส่วนในเดือนพฤษภาคม 2555 โดยคาดว่าจะเปิดดำเนินงานอย่างเต็มรูปแบบได้ในปี 2556

การเข้าซื้อกิจการ Oxide และ Glycols ในอเมริกาเหนือ ในเดือนเมษายน 2555
ช่วยเพิ่มสายผลิตภัณฑ์ใหม่ให้กับบริษัท และทำให้เกิดการควบรวม MEG (วัตถุดิบหลักในการผลิตโพลีเอสเตอร์)
เป็นครั้งแรก และทำให้บริษัทเป็นผู้ผลิตโพลีเอสเตอร์เพียงรายเดียวในโลกที่มีการควบรวมกับการผลิตวัตถุดิบ
PTA และ MEG จากการเข้าซื้อกิจการนี้ ทำให้บริษัทได้ส่วนแบ่งตลาดถึงร้อยละ 30 จากการขาย PEO (Purified
Ethylene Oxide) ในทวีปอเมริกาเหนือ

บริษัทได้เสร็จสิ้นการเข้าซื้อกิจการโรงงานผลิตเส้นใยโพลีเอสเตอร์ Fiber Visions ในอเมริกา ยุโรป
และประเทศจีน ในเดือนมกราคม 2555
ทำให้บริษัทเป็นผู้นำของโลกในกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว และการเข้าซื้อโรงงานรีไซเคิล
PET และเส้นใยไฟเบอร์ของ Wellman International ในยุโรปในเดือนพฤศจิกายน 2554
ทำให้บริษัทกลายเป็นผู้นำในตลาดยุโรป ที่มีการผลิตครบวงจรภายในห่วงโซ่โพลีเอสเตอร์ นอกจากนี้
อัตราการใช้กำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้นในโรงงานอื่นๆของบริษัท
การเริ่มดำเนินงานบางส่วนของโรงงานที่จังหวัดลพบุรี และกำลังการผลิตส่วนเพิ่มจากโรงงานผลิต Oxide และ
Glycols ทำให้ปริมาณการผลิตทั้งหมดเพิ่มขึ้นเป็น 1.35 ล้านตันในไตรมาสที่ 2 ปี 2555
หรือเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 13 จากไตรมาสที่ 1 ปี 2555

แผนภาพข้างล่างนี้แสดงการเปลี่ยนแปลงของปริมาณการผลิตเปรียบเทียบไตรมาสต่อไตรมาสและแสดงยอดขายสกุลเหรียญ
สหรัฐแยกตามภูมิศาสตร์และกลุ่มผลิตภัณฑ์ บริษัทมีส่วนแบ่งทางการตลาดเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในทุกภูมิภาค
และทุกกลุ่มผลิตภัณฑ์





ข้อสังเกต : รายได้ตามภูมิศาสตร์และกลุ่มผลิตภัณฑ์ เป็นรายได้ภายหลังหักรายการขายระหว่างกันในภูมิศาสตร์
และระหว่างกลุ่มผลิตภัณฑ์


กราฟข้างล่างแสดงรายละเอียดของ Core EBITDA ในไตรมาสที่ 2 ปี 2555 ซึ่งจะเห็นว่า Core EBITDA
ต่อตันเพิ่มขึ้นร้อยละ 59 จากไตรมาสที่ 1 ปี 2555 ซึ่งเกิดจากการเข้าซื้อกิจการ Oxide และ Glycols
ในประเทศสหรัฐอเมริกา

ผลขาดทุนจากเหตุการณ์น้ำท่วมที่จังหวัดลพบุรี การลดลงอย่างมากของอัตรากำไร PTA
และความผันผวนของตลาดเอเชีย ส่งผลกระทบอย่างมากต่อ EBITDA ในทวีปเอเชียในปี 2555 ฝ่ายบริหารเชื่อว่า
ผลการดำเนินงานโดยรวมจะดีขึ้นจากแผนปรับปรุงการดำเนินงานที่เริ่มทำในครึ่งแรกของปี 2555
เริ่มจากการขยายกำลังการผลิตของประเทศจีนเพิ่มเป็น 522 กิโลตันต่อปี การเริ่มดำเนินงานของโรงงาน SSP
ในประเทศไนจีเรีย และการเข้าซื้อกิจการ PET เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตในประเทศอินโดนีเซียในไตรมาสที่ 3 ปี
2555 ลำดับต่อมา ตลาดจีนและอินเดียคาดว่าจะปรับตัวดีขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้อัตรากำไร PTA
เริ่มดีขึ้นจากที่ปัจจุบันอัตรากำไร PTA ต่ำกว่าต้นทุนเงินสด

อย่างไรก็ตาม EBITDA ของทุกกลุ่มธุรกิจยังคงเพิ่มขึ้น อีกทั้งการเพิ่มกลุ่มธุรกิจใหม่ ในระดับภูมิภาค
ทวีปอเมริกาเหนือยังคงเป็นผู้นำในด้านผลการดำเนินงาน ในขณะที่ทวีปยุโรปมีผลการดำเนินงานค่อนข้างต่ำ แต่
IVL ยังคงรักษาระดับการผลิตไว้ได้แม้ว่าจะสูญเสียอัตรากำไรไปบ้าง
ภายใต้สภาวะวิกฤตเศรษฐกิจในประเทศกรีซซึ่งครอบคลุมไปทั่วทวีปยุโรปตอนใต้ อย่างไรก็ดี
การปรับปรุงการดำเนินงานใน Spartanburg การขยายกำลังการผลิตที่ Rotterdam
ซึ่งคาดว่าจะเสร็จสิ้นในไตรมาสที่ 3 รวมทั้งกำไรจากธุรกิจ Oxide และ Glycols ในทวีปอเมริกาเหนือนั้น
จะช่วยเพิ่มศักยภาพ ชดเชยกับอัตรา PTA ในทวีปเอเชียที่ลดต่ำลง















คำอธิบายธุรกิจ Oxide and Glycols

แผนภาพข้างล่างนี้ช่วยอธิบายถึงธุรกิจ Oxide & Glycols ในทวีปอเมริกาเหนือ
ความแตกต่างหลักระหว่างทวีปเอเชียและอเมริกาเหนือ คือที่มาของทรัพยากร และสภาพเศรษฐกิจของวัตถุดิบ
ethylene และราคาของ MEG

ราคา Ethylene ในทวีปเอเชีย มาจากราคาของ Nafta ในขณะที่ทวีปอเมริกาเหนือ ราคา Ethylene
ขึ้นอยู่กับราคาก๊าซชั้นหินที่มีอยู่อย่างมากมาย

ราคา MEG ในทวีปอเมริกาเหนือ มีราคาสูงกว่า แต่มีการเปลี่ยนแปลงตามราคาในทวีปเอเชีย
เนื่องจากปริมาณการใช้โพลีเอสเตอร์โดยหลักมาจากเอเชีย โดยเฉพาะประเทศจีน

ดังนั้น อัตรากำไรของ MEG ในทวีปอเมริกาเหนือจะสูงกว่า และผันผวนน้อยกว่าในทวีปเอเชีย
ดังจะเห็นได้จากแผนภาพ
MEG-Ethylene Margin นี้





ที่มา : บทวิเคราะห์อุตสาหกรรม

แนวโน้มธุรกิจ

ความผันผวนอย่างรุนแรงในรอบสิบสองเดือนที่ผ่านมา
ใกล้เคียงกับเหตุการณ์ที่บริษัทได้เคยประสบมาในครึ่งหลังของปี 2551
การลดลงของปริมาณสินค้าคงเหลือทั่วทั้งอุตสาหกรรมเป็นเหตุให้ราคาผลิตภัณฑ์ลดต่ำลง
ซึ่งได้เกิดขึ้นครั้งแรกในไตรมาสที่ 4 ปี 2554 และเกิดขึ้นอีกครั้งในไตรมาสที่ 2 ปี 2555
นอกจากนี้ยังประสบภาวะชะลอตัวในการเติบโตในทวีปเอเชียโดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศจีนและอินเดีย
อย่างไรก็ตามบริษัทคาดว่าจะมีการฟื้นตัวดีขึ้นอย่างแน่นอน เหมือนอย่างที่เคยเกิดขึ้นในปี 2552 และ 2553

การเติบโตอย่างต่อเนื่องของรายได้ของบริษัทแม้ในภาวะผันผวนของตลาดโลก
เป็นการทดสอบความสามารถในการดำเนินธุรกิจของบริษัท ซึ่งเปรียบเสมือนทางเชื่อมสู่ผู้บริโภค
ผลิตภัณฑ์ของบริษัทเป็นสินค้าพื้นฐานที่จำเป็นต้องใช้ในชีวิตประจำวันและจัดหาง่าย
ทำให้ยังคงมีความต้องการอย่างต่อเนื่องแม้ในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำ
ผลิตภัณฑ์ของบริษัทสามารถพบเห็นได้ทุกที่และเป็นสิ่งจำเป็นในชีวิตประจำวันที่ทุกคนต้องใช้

บริษัทอยู่ในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีภัณฑ์ ซึ่งมีการรวมตัวกับวัตถุดิบหลักอย่าง PTA และ MEG
การรวมตัวกันนี้ทำให้บริษัทเป็นที่ไว้วางใจของผู้บริโภค และมีส่วนแบ่งการตลาดที่เพิ่มขึ้น

การเสร็จสิ้นการเข้าซื้อธุรกิจ Old World ในประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อเดือนเมษายน ปี 2555
เป็นกลยุทธ์ที่จะผลักดันให้เป็นไปตามแผนการควบรวมภายในห่วงโซ่มูลค่าโพลีเอสเตอร์ สู่วัตถุดิบหลักอย่าง
Mono Ethylene Glycol (MEG) และ Purified Ethylene Oxide (PEO)
โรงงานตั้งอยู่ในศูนย์กลางของอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ใน Clear Lake มลรัฐเท็กซัส ประเทศสหรัฐอเมริกา
ซึ่งเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่ได้เปรียบในการจัดหาวัตถุดิบและระบบสาธารณูปโภคต่างๆ MEG
เป็นวัตถุดิบหลักในการผลิต PET โพลีเมอร์และเส้นใยและเส้นด้ายโพลีเอสเตอร์
นอกจากนี้ยังเป็นก้าวไปสู่การเติบโตในผลิตภัณฑ์ใหม่ๆซึ่งมีอัตรากำไรที่สูงขึ้น (เป็นโรงงานผลิต EO/MEG
แรกของ IVL) Old World มีฐานการผลิต ฐานลูกค้า เครือข่ายผู้จัดหาสินค้าและทีมบริหารที่มีประสบการณ์
การเข้าซื้อกิจการดังกล่าว คาดว่าจะทำให้ IVL มีผลกำไรและสร้างความมั่นคงในธุรกิจในระยะยาว นอกจากนี้
ยังได้รับการสนับสนุนโดยแนวโน้มธุรกิจในทางบวกของ EO/MEG ในอเมริกาเหนือ
สำหรับการเติบโตในด้านความต้องการ อัตราการใช้กำลังการผลิต และอัตรากำไร อเมริกาเหนือมีอุปทานของ
Ethylene
จากผู้จำหน่ายหลายรายโดยการขนส่งผ่านท่อและมีแหล่งวัตถุดิบที่เป็นประโยชน์จากก๊าซธรรมชาติและก๊าซจากชั้น
หิน (Shale gas) Old World จึงสร้างโอกาสในการเกื้อหนุนทางธุรกิจ (Synergies)
และเสริมสร้างการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพของ IVL ในการผลิต PET โพลีเมอร์ส
และเส้นใยและเส้นด้ายโพลีเอสเตอร์ ซึ่งมีกำลังการผลิตประมาณ 1.8 ล้านตันในอเมริกาเหนือ

อัตรากำไร PTA ในทวีปเอเชีย คาดว่ายังคงอยู่ในระดับที่ต่ำตลอดทั้งปี 2555
แต่โรงงานของบริษัทยังคงรักษาอัตราการใช้กำลังการผลิตในระดับสูง และได้รับประโยชน์จากการเพิ่มการบริโภค
PTA ภายในกลุ่มบริษัท มากกว่าร้อยละ 50 ในธุรกิจ PET โพลีเมอร์ส และเส้นใยและเส้นด้ายโพลีเอสเตอร์
ฝ่ายบริหารจึงมุ่งเป้าไปที่การรวมตัวและการเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานของธุรกิจปัจจุบัน
และโครงการขยายกำลังการผลิตที่กำลังจะเสร็จสิ้น เพื่อบรรลุผลประกอบการที่เพิ่มขึ้นของบริษัท
ในบทวิเคราะห์แต่ละกลุ่มผลิตภัณฑ์ได้อธิบายถึงแผนปรับปรุงการดำเนินงานในปี 2555
ซึ่งจะช่วยลดผลกระทบจากอัตรากำไรในธุรกิจ PTA ในทวีปเอเชียที่ลดลงในปี 2555

เนื่องจากลักษณะของโพลีเอสเตอร์ที่จัดหาง่าย
และเป็นส่วนประกอบในสินค้าอุปโภคบริโภคที่ใช้ในชีวิตประจำวัน (อาหาร เครื่องดื่ม และเสื้อผ้า)
บริษัทฯคาดว่าจะได้รับผลดีจากการที่บริษัทมีโรงงานอยู่ทั่วภูมิภาคหลักของโลก
ในฐานะผู้นำของตลาดและการควบรวมในอุตสาหกรรม
การลงทุนในนวัตกรรมหรือสินค้าเพิ่มมูลค่าจะทำให้อัตรากำไรโดยรวมเพิ่มมากขึ้น
และจะเป็นช่องทางการเติบโตในภายภาคหน้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตลาดที่กำลังพัฒนา

บริษัทจะมียอดขายที่เติบโตอย่างต่อเนื่องในช่วงครึ่งหลังของปี 2555 และในปี 2556
จากกำลังการผลิตใหม่มากกว่า 500 กิโลตันต่อปี ซึ่งมาจากโรงงานใน Rotterdam และ Kaiping ประเทศจีน
โดยมีต้นทุนส่วนเพิ่มเพียงเล็กน้อย เนื่องจากเป็นการขยายกำลังการผลิต ณ โรงงานที่มีอยู่
การเสร็จสิ้นการเข้าซื้อธุรกิจของ Polypet ในประเทศอินโดนีเซีย ในวันที่ 9 สิงหาคม 2555
ซึ่งอินโดนีเซียมีบทบาทที่สำคัญต่อบริษัท เนื่องจากมีแหล่งทรัพยากรและมีฐานประชากรขนาดใหญ่
โครงการขยายธุรกิจผลิตเส้นใยและเส้นด้ายโพลีเอสเตอร์ที่สำคัญของบริษัท
อยู่ระหว่างการก่อสร้างในประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งมีเป้าหมายว่าจะเสร็จสิ้นในปี 2556

ธุรกิจของบริษัทฯที่มีการกระจายอยู่ทั่วโลก มีความหลากหลายของผลิตภัณฑ์
และการควบรวมภายในห่วงโซ่โพลีเอสเตอร์ ทำให้เกิดการป้องกันความเสี่ยงทางธุรกิจ
และทำให้บริษัทฯสามารถรักษาผลดำเนินงานให้อยู่ในระดับสูงกว่ามาตรฐาน
ฝ่ายบริหารได้ตระหนักถึงการรวมตัวของกิจการที่บริษัทได้เข้าซื้อ
เพื่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มและการนำเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ๆจากนวัตกรรมที่บริษัทมี
บริษัทยังคงมองห่วงโซ่มูลค่าโพลีเอสเตอร์ในแง่บวก และเป็นผู้นำในวงจรนี้
บริษัทอยู่ในตำแหน่งที่ดีซึ่งถือเป็นปัจจัยที่สำคัญเมื่อทั่วโลกเกิดการฟื้นตัว และในขณะเดียวกัน
บริษัทเชื่อมั่นว่า บริษัทจะเป็นผู้นำตลาดทั่วโลกต่อไป







โครงการที่อยู่ระหว่างดำเนินการ

วันที่ประกาศ โครงการ สถานที่ตั้ง กำลังการผลิต
(ตันต่อปี) ระยะเวลา
การขยายกำลังการผลิตในโรงงานเดิม
พฤษภาคม 2553 การขยายการผลิตเม็ดพลาสติก PET ใน Rotterdam Rotterdam เนเธอร์แลนด์ 187,000 ปี 2555
มีนาคม
2554 การลงทุนในโรงงานผลิต Polymerization resin ต่อเนื่อง
ที่อินโดนีเซีย Purwakarta
อินโดนีเซีย 300,000 ครึ่งหลังของ
ปี 2556
เมษายน 2554 การขยายการผลิต PET ในประเทศโปแลนด์ โปแลนด์ 220,000 ครึ่งแรกของ
ปี 2557
พฤษภาคม 2554 การขยายการผลิต PTA ใน Rotterdam ส่งเสริมการควบรวมวัตถุดิบในการผลิต PET
ในทวีปยุโรป Rotterdam
เนเธอร์แลนด์ 250,000 ปี 2556
มิถุนายน
2554 ลงทุนร้อยละ 42 ในกิจการร่วมทุน PT Polyprima Karyesreska ผู้ผลิต PTA ซึ่งใช้เทคโนโลยีของ Invista
ปัจจุบันโรงงานอยู่ระหว่างการปรับปรุงกำลังการผลิต การลงทุนในครั้งนี้จะช่วยเพิ่มฐานวัตถุดิบ PTA
ให้กับ IVL PET และโพลีเอสเตอร์ในประเทศอินโดนีเซีย เมือง Cilegon West Javaอินโดนีเซีย 500,000 ปี 2556
ไตรมาสที่ 2
ปี 2554 ขยายกำลังการผลิต PET ในประเทศจีน เมือง Kaipingมณฑลกวางตุ้งประเทศจีน 116,000 เสร็จสิ้นแล้ว
มีนาคม
2555 เข้าซื้อกิจการผลิตเม็ดพลาสติก PET ในอัตราร้อยละ 100 ของ PT Polypet Karyapersada
ซึ่งโรงงานตั้งอยู่ติดกับบริษัทร่วมทุน PT Indorama Petrochemicals ผู้ผลิต PTA เมือง Cilegon
อินโดนีเซีย 100,800 เสร็จสิ้นแล้ว
การขยายกิจการในภูมิภาคอื่น
สิงหาคม 2553 ลงทุนในโรงงานผลิต PET แบบ Solid state polymerization "SSP" ในประเทศไนจีเรีย
ซึ่งถือเป็นการลงทุนครั้งแรกของบริษัทในทวีปแอฟริกา Port Harcourtไนจีเรีย 84,000 เสร็จสิ้นแล้ว
การรีไซเคิลและนวัตกรรม
สิงหาคม 2554 ลงทุนในการผลิต recycled PET ในโรงงานของอินโดรามา
โพลีเอสเตอร์ อินดัสตรีส์ จังหวัดนครปฐม นครปฐม ประเทศไทย 28,500 ปี 2556
สิงหาคม 2554 ลงทุนในโครงการเส้นใยผสมสำหรับสินค้าอนามัย โดยใช้เทคโนโลยี Toyobo ประเทศญี่ปุ่น ระยอง
ประเทศไทย 21,000 ปี 2555
สิงหาคม 2554 ลงทุนในเส้นใยผสมคุณภาพสูง (FINNE)โดยผ่านเพียงหนึ่งกระบวนการผลิต ที่โรงงาน PT
IVI Tangerang
อินโดนีเซีย 16,000 ปี 2556
การประหยัดต้นทุนและการปรับปรุงประสิทธิภาพ
ไตรมาสที่ 2 ปี 2554 เปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิตจาก DMT เป็น PTA ที่โรงงาน Auriga ผู้ผลิตเม็ดพลาสติก PET
และเส้นใยโพลีเอสเตอร์
Spartanburg, South Carolina
สหรัฐอเมริกา - ปี 2555
มกราคม 2555 ปรับโครงสร้างเชิงกลยุทธ์ใน Trevira โดยการย้ายฐานการผลิตจากประเทศโปแลนด์
ไปที่ประเทศเยอรมัน Guben,
ประเทศเยอรมัน - ปี 2555

ภายหลังเสร็จสิ้นแผนการเข้าซื้อและการขยายกิจการทั้งหมด
บริษัทจะมีข้อได้เปรียบในการบริหารกิจการในระดับภูมิภาค ทำให้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นเป็น 8.5
ล้านตันต่อปี (รวมกิจการร่วมทุน Ottana Polimeri, Trevira และ Polyprima ซึ่งจะได้รับเป็นส่วนแบ่ง
กำไร) บริษัทจะกลายเป็นผู้นำตลาดห่วงโซ่มูลค่าโพลีเอสเตอร์ทั้งในประเทศไทย อเมริกาเหนือ และยุโรป


หน่วย: ล้านตันต่อปี เพิ่มขึ้น PET PTA เส้นใยและเส้นด้าย Glycol รวม
กำลังการผลิตสิ้นปี 2554
ประเทศไทย 0.281 1.373 0.290 1.944
ประเทศอินโดนีเซีย 0.088 0.110 0.198
ประเทศจีน 0.406 0.406
ทวีปยุโรป* 0.921 0.561 0.273 1.755
ทวีปตะวันออกกลางและแอฟริกา -
ทวีปอเมริกาเหนือ 1.555 0.071 1.626
รวม 3.251 1.934 0.744 5.929
*กำลังการผลิตของกิจการร่วมค้า 0.161 0.184 0.120 0.465
กำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้นในปี 2555
ทวีปอเมริกาเหนือ Oxide & Glycols** 0.550 0.550
ทวีปยุโรป IRP-Rotterdam 0.031 0.031
ประเทศอินโดนีเซีย Polypet 0.101 0.101
ทวีปตะวันออกกลางและแอฟริกา Nigeria-Greenfield 0.084 0.084
ทวีปอเมริกาเหนือ Fibervision 0.221 0.221
ประเทศอินโดนีเซีย* Polyprima 0.500 0.500
ประเทศไทย TPT-Debottl. 0.011 0.011
ประเทศจีน China-Exp. 0.116 0.116
ประเทศไทย IPI-BICO/CP 0.021 0.021
รวม 0.332 0.511 0.242 0.550 1.635
*กำลังการผลิตของกิจการร่วมค้า 0.500 0.500
กำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้นในปี 2556
ทวีปยุโรป IRP-Rotterdam 0.156 0.156
ทวีปยุโรป Poland-Exp. 0.220 0.220
ประเทศอินโดนีเซีย CP4-Greenfield 0.300 0.300
ประเทศอินโดนีเซีย Finne-Exp. 0.016 0.016
ประเทศไทย IPI-Recycling 0.028 0.028
ทวีปยุโรป Rotterdam-Exp. 0.250 0.250
รวม 0.376 0.250 0.344 0.970
กำลังการผลิตตามแผนงานที่ได้ประกาศไว้
ประเทศไทย 0.281 1.384 0.339 2.004
ประเทศอินโดนีเซีย* 0.189 0.500 0.426 1.115
ประเทศจีน 0.522 0.522
ทวีปยุโรป* 1.328 0.811 0.273 2.412
ทวีปตะวันออกกลางและแอฟริกา 0.084 0.084
ทวีปอเมริกาเหนือ 1.555 0.292 0.550 2.479
รวม 3.959 2.695 1.330 0.550 8.534
*รวมกำลังการผลิตของกิจการร่วมค้า 0.161 0.684 0.120 0.965
*กำลังการผลิต ปริมาณการผลิต ปริมาณการขาย และอัตราการใช้กำลังการผลิต
ที่รายงานไปนั้นรวมเฉพาะผลประกอบการของกิจการที่รวมอยู่ในงบการเงินรวม (Consolidated)
ไม่รวมถึงผลประกอบการของกิจการที่บันทึกในรูปของเป็นส่วนแบ่งกำไรจากการลงทุน (Equity Income)
*กำลังการผลิต Glycols & Oxide อยู่ที่ 550 กิโลตันต่อปี คำนวณจากกำลังการผลิตเทียบเท่า Glycols
ซึ่งมาจาก Ethylene ที่ใช้ที่ 330 กิโลตันต่อปี


ข้อสังเกต :

นับจากไตรมาสนี้เป็นต้นไป บริษัทแบ่งกลุ่มธุรกิจออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ กลุ่มธุรกิจเม็ดพลาสติก PET,
กลุ่มธุรกิจเส้นใยและเส้นด้ายโพลีเอสเตอร์ และเส้นใยจากขนสัตว์ และกลุ่มธุรกิจวัตถุดิบ
ในกลุ่มธุรกิจวัตถุดิบ ประกอบด้วย กลุ่มธุรกิจ PTA และ กลุ่มธุรกิจ Oxide และ Glycols
ซึ่งใช้เป็นวัตถุดิบหลักสำหรับการผลิตของอีกสองกลุ่มธุรกิจข้างต้น นอกจากนี้ จะไม่มีการปันส่วนรายได้ของ
PTA ให้กับกลุ่มธุรกิจ PET และกลุ่มธุรกิจเส้นใยและเส้นด้ายโพลีเอสเตอร์ (ตามสัดส่วนของยอดขาย)
ในไตรมาสนี้เป็นต้นไป และไตรมาสเปรียบเทียบ

ข้อมูลทางการเงินรวมภายหลังการตัดรายการระหว่างกันในบริษัทในกลุ่ม (หรือระหว่างกลุ่มธุรกิจ)
ทำให้อาจไม่เท่ากับยอดรวมของแต่ละส่วนธุรกิจ

กำไรสุทธิหลังหักภาษีเงินได้และส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยสำหรับไตรมาสที่ 2 ปี 2555
ได้รวมรายการขาดทุนพิเศษสุทธิจำนวน 15 ล้านเหรียญสหรัฐ (459 ล้านบาท) ซึ่งประกอบด้วย
(ยังมีต่อ)