คำอธิบายและวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ


ที่ IVL006/02/2012
22 กุมภาพันธ์ 2555

เรียน กรรมการและผู้จัดการ
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

เรื่อง ขอนำส่งงบการเงินประจำปี สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2554 ของบริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส จำกัด
(มหาชน) และคำอธิบายและบทวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ

ทางฝ่ายจัดการของบริษัท ขอนำส่งเอกสารดังต่อไปนี้

1. สำเนางบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะบริษัทประจำปี สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2554
(ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ)
2. คำอธิบายและบทวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ สำหรับผลการดำเนินงานประจำไตรมาสที่ 4 ของปี 2554 และสำหรับปี
สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2554 (ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ)
3. รายงานสรุปผลการดำเนินงาน แบบฟอร์ม 45-3 สำหรับผลการดำเนินงานสำหรับปี สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม
2554 (ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ)


จึงเรียนมาเพื่อทราบ

ขอแสดงความนับถือ



(นายอาลก โลเฮีย)
ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัทฯ




เลขานุการบริษัท
โทรศัพท์: +66 (0) 2661-6661
โทรสาร: +66 (0) 2661-6664


บริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส จำกัด (มหาชน)
คำอธิบายและบทวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ
ผลการดำเนินงานรวม ไตรมาสที่ 4 ของปี 2554 และสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2554


ในปี 2554 นับได้ว่าเป็นปีที่ IVL ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก
ทั้งในด้านของรายได้ที่เพิ่มขึ้นอย่างมีสาระสำคัญ ผลประกอบการ และกระแสเงินสด
ถือเป็นการเริ่มต้นที่ดีของธุรกิจให้ก้าวไปข้างหน้าอย่างมั่นคง
กลยุทธ์หลักของบริษัทฯอันดับแรกเริ่มจากการควบรวมภายในในห่วงโซ่มูลค่าโพลีเอสเตอร์และอันดับที่สองเป็นกา
รขยายอัตรากำไรในผลิตภัณฑ์ด้านสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็น และเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ชนิดพิเศษให้มากขึ้น
ในปี 2554 บริษัทฯได้เสร็จสิ้นการออกหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้ (TSR)
และการออกขายหุ้นกู้เพื่อเพิ่มสภาพคล่องและรักษาโครงสร้างทางการเงินที่เหมาะสม บริษัท อินโดรามา
เวนเจอร์ส จำกัด (มหาชน) หรือ IVL รายงานรายได้รวมสำหรับ ปี 2554 เท่ากับ 6,102 ล้านเหรียญสหรัฐ
กำไรรวมก่อนหักดอกเบี้ย ภาษีเงินได้ ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่าย (EBITDA) เท่ากับ 558
ล้านเหรียญสหรัฐ (17,021 ล้านบาท) กำไรสุทธิรวมหลังภาษีเงินได้และส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย
(รวมรายการพิเศษ) เท่ากับ 510 ล้านเหรียญสหรัฐ (15,568 ล้านบาท) และอัตราผลตอบแทนต่อเงินทุนของบริษัท
เท่ากับ ร้อยละ 16 ฐานะทางการเงินรวมยังคงแข็งแกร่งขึ้น และณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554
อัตราหนี้สินสุทธิต่อเงินทุนของบริษัทลดลงจากร้อยละ 48 เป็นร้อยละ 43 และมีสภาพคล่องสูงถึง 1,395
ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งรวมถึงเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด และวงเงินสินเชื่อที่ยังมิได้เบิกใช้

ปริมาณการผลิตรายปีที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 37 เมื่อเทียบกับปี 2553
ส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของกำไรรวมก่อนหักดอกเบี้ย ภาษีเงินได้ ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่าย
(Consolidated EBITDA) และ กำไรหลักรวมก่อนหักดอกเบี้ย ภาษีเงินได้ ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่าย
(Core EBITDA) ใน ปี 2554 Consolidated EBITDA ของบริษัทฯ เท่ากับ 558 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ
28 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ในขณะที่ Core EBITDA เท่ากับ 552 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 38
เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา Core EBITDA ต่อตันในปี 2554 เท่ากับ 127 เหรียญสหรัฐต่อตันและในปี 2553
เท่ากับ 125 เหรียญสหรัฐต่อตัน














ข้อมูลทางการเงินที่สำคัญ
ล้านเหรียญสหรัฐ


ไตรมาส 4/2554 ไตรมาส 3/2554 ไตรมาส 4/2553 ปี2554 ปี2553
อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ 31.69 31.17 30.15 31.69 30.15
อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทต่อยูโร 41.03 42.24 39.94 41.03 39.94
*รายได้จากการขายรวม 1,394 1,689 838 6,102 3,055
PET 975 1,214 483 4,252 1,832
โพลีเอสเตอร์ และเส้นใยจากขนสัตว์ 196 230 120 826 429
PTA 231 255 234 1,040 795
กำไรรวมก่อนหักดอกเบี้ย ภาษีเงินได้ ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่าย (EBITDA) 43 153 141 558 435
PET 33 103 70 358 237
โพลีเอสเตอร์ และเส้นใยจากขนสัตว์ 15 25 27 107 70
PTA 0 22 45 101 129
*กำไรหลักรวมก่อนหักดอกเบี้ย ภาษีเงินได้ ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่าย (Core EBITDA) 79 135 105
552 399
PET 55 96 51 361 216
โพลีเอสเตอร์ และเส้นใยจากขนสัตว์ 23 19 20 108 64
PTA 6 19 33 94 119
กำไรสุทธิหลังหักภาษีเงินได้และส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย (51) 120 134 510 328
**รายการพิเศษ 66 (50) (75) (213) (113)
กำไรสุทธิหลักจากการดำเนินงาน หลังหักภาษีเงินได้และส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย 15 70 59 297 215
รายจ่ายฝ่ายทุน (CAPEX) 177 74 120 1,032 206
หนี้สินสุทธิ 1,377 1,238 996 1,377 996
อัตราส่วนหนี้สินสุทธิต่อทุน 0.7 0.6 0.9 0.7 0.9
อัตราความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ย 2.7 9.1 12.0 9.0 10.6
อัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น -11% 25% 55% 35% 42%
อัตราผลตอบแทนต่อเงินทุนของบริษัท 1% 15% 23% 16% 18%
กำไรต่อหุ้น (บาท) (0.30) 0.75 0.92 3.29 2.46
กำไรปกติต่อหุ้น (บาท) 0.10 0.44 0.41 1.91 1.61
*อ้างถึงตารางกำไรสุทธิ หน้า 5
**อ้างถึงข้อสังเกต1 หน้า 15 ข้อมูลทางการเงินรวมภายหลังการตัดรายการระหว่างกันในบริษัทในกลุ่ม
(หรือระหว่างกลุ่มธุรกิจ)


ในปี 2554 ราคาน้ำมันดิบ และปิโตรเคมีภัณฑ์มีความผันผวนสูง และผลกระทบจากจากสภาพแวดล้อมโดยรวมทั่วโลก
โดยเฉพาะวิกฤติหนี้ยุโรป และภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เพิ่มขึ้น (ในประเทศออสเตรเลีย ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา
และไทย) ทำให้ราคาน้ำมันดิบและราคาสินค้าอุปโภคบริโภคมีความผันผวนเป็นอย่างมาก
และในไตรมาสสุดท้ายนี้มีการลดปริมาณสินค้าคงเหลือลง สาเหตุมาจากความไม่แน่นอนโดยทั่วไป
และความผันผวนของราคาผลิตภัณฑ์ที่ลดต่ำลงอย่างรวดร็ว

แม้ว่าจะมีความไม่แน่นอนเกิดขึ้น ธุรกิจของบริษัทฯที่มีการกระจายอยู่ทั่วโลก
และมีความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ และการควบรวมภายในห่วงโซ่โพลีเอสเตอร์
ทำให้เกิดการป้องกันความเสี่ยงทางธุรกิจ อีกทั้งบริษัทฯสามารถรักษาระดับการผลิตให้อยู่ในระดับสูง
เนื่องจากมีกิจการที่เข้าซื้อและประสบความสำเร็จในการควบรวมเข้ากับการประกอบการของกลุ่มบริษัทฯ
การซื้อกิจการในปี 2554 ได้แก่ โรงงานผลิต PET ในประเทศจีน โรงงานผลิต PET
และเส้นใยและเส้นด้ายโพลีเอสเตอร์ของ Invista ในประเทศสหรัฐอเมริกาและเม็กซิโก โรงงานผลิต PET
และเส้นใยและเส้นด้ายโพลีเอสเตอร์ของ SK Chemicals ในประเทศอินโดนีเซียและโปแลนด์
และล่าสุดโรงงานรีไซเคิลและผลิตเส้นใยไฟเบอร์ของ Wellman International ในทวีปยุโรป
ทำให้ปริมาณการผลิตใน ปี 2554 เท่ากับ 4.4 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 37 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว
ในระหว่างปี 2554 บริษัทฯได้เสร็จสิ้นการลงทุนในกิจการร่วมทุน Trevira
ซึ่งเป็นธุรกิจเส้นใยและเส้นด้ายโพลีเอสเตอร์ ในประเทศเยอรมัน และ Polyprima ซึ่งเป็นธุรกิจ PTA
ในประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งไม่รวมอยู่ในปริมาณการผลิตรวมของบริษัทฯ นอกจากนี้ ปริมาณความต้องการ PET และ
เส้นใยและเส้นด้ายโพลีเอสเตอร์นั้นเกี่ยวเนื่องกับสินค้าอุปโภคบริโภคที่มีความจำเป็นในชีวิตประจำวัน
จึงสามารถรักษาอัตราการเพิ่มขึ้นของปริมาณการผลิตและอัตรากำไรที่สม่ำเสมอปีต่อปี
การเข้าซื้อธุรกิจเหล่านี้ยังได้เพิ่มมูลค่าให้แก่บริษัทฯในแง่ของ นวัตกรรมของผลิตภัณฑ์ รีไซเคิล
และฝ่ายบริหารที่มีประสบการณ์

อัตราการเพิ่มขึ้นของปริมาณการผลิตร้อยละ 37 นี้ได้รวมผลกระทบจากปริมาณผลิตที่ลดลง
จากการหยุดดำเนินการผลิตในโรงงานอัลฟ่าเพ็ท รัฐอัลบามา สหรัฐอเมริกา เนื่องมาจากพายุทอร์นาโดพัดผ่าน
ในไตรมาสที่2 ปี 2554 ในโรงงาน อินโดรามา โพลีเอสเตอร์ อินดัสตรีส์ (IPI)
ที่จังหวัดระยองจากความขัดข้องในสายการผลิตที่ทำให้เกิดความเสียหาย ในไตรมาสที่2 ปี 2554
และในโรงงานที่ลพบุรี ประเทศไทย เนื่องจากอุทกภัยทำให้ต้องปิดโรงงานอินโดรามาโพลีเมอร์ เอเชียเพ็ท
อินโดรามาโฮลดิ้งส์ และ เพ็ทฟอร์มตั้งแต่สิ้นเดือนกันยายน ปี 2554
ความเสียหายต่อทรัพย์สินนี้ได้รับการครอบคลุมเต็มจำนวนจากกรมธรรม์ประกันความเสียหายของทรัพย์สิน
สินค้าคงเหลือ และ ความเสียหายจากการขัดข้องทางธุรกิจ (Business Interruption)
และบริษัทฯได้ทำการยื่นขอเงินชดเชยดังกล่าวจากบริษัทประกันภัยแล้ว

บริษัทฯมีปริมาณการผลิตที่เพิ่มขึ้นไตรมาสต่อไตรมาสจนกระทั่งถึงไตรมาสที่3 ปี 2554
เนื่องจากการเข้าซื้อกิจการ ในไตรมาสที่4 ปี2554
ได้รับผลกระทบจากการลดปริมาณสินค้าคงเหลือเนื่องจากราคาสินค้าลดลงอย่างรวดเร็ว
สืบเนื่องจากวิกฤติการณ์เงินยูโร เป็นผลให้ปริมาณการผลิตต่ำลง

ปริมาณการผลิตภายในประเทศไทยของบริษัทฯได้รับผลกระทบจากการเกิดอุทกภัยในโรงงานที่ลพบุรี ประเทศไทย
ทำให้ต้องปิดโรงงานทั้งไตรมาส และการปิดโรงงานที่นครปฐมเป็นเวลา 3 สัปดาห์
ภายใต้มาตรการการป้องกันการลุกลามของอุทกภัย ในขณะเดียวกัน กำลังการผลิตทุกไตรมาสของปี 2554 มากกว่าปี
2553 ในปี2555 จะมีกำลังการผลิตประมาณ 2.3 ล้านตัน เต็มปีเป็นปีแรก ซึ่งมาจากการเข้าซื้อกิจการในปี 2554


แผนภาพข้างล่างนี้แสดงการเปลี่ยนแปลงของปริมาณการผลิตเปรียบเทียบไตรมาสต่อไตรมาส



ปริมาณการผลิตที่ลดลงเนื่องจากเหตุการณ์น้ำท่วมในประเทศไทย และการลดปริมาณการผลิตในทวีปยุโรป
และสหรัฐอเมริกาเนื่องจากวิกฤติฝั่งยุโรป ส่งผลให้Consolidated EBITDA ของบริษัทฯในไตรมาสที่4 ของปี
2554 ต่ำลงเท่ากับ 43 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 72 เมื่อเทียบกับ ไตรมาสที่ 3 ของปี 2554 และร้อยละ 70
เมื่อเทียบกับ ไตรมาสที่ 4 ของปี 2553 ในขณะที่ Core EBITDA
(ภายหลังปรับปรุงผลกระทบจากกำไรขาดทุนในสินค้าคงเหลือ) ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2554 จะเท่ากับ 79
ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 42 เมื่อเทียบกับ ไตรมาสที่ 3 ของปี 2554 และร้อยละ 24 เมื่อเทียบกับ
ไตรมาสที่ 4 ของปี 2553 Core EBITDA ที่ลดลง เนื่องมาจาก ปริมาณลดลงในทุกกลุ่มผลิตภัณฑ์
อัตรากำไรในธุรกิจ PET ในยุโรปและสหรัฐอเมริกาลดลง และ อัตรากำไรในธุรกิจ PTA ในเอเชียลดต่ำลงอย่างมาก
EBITDA ลดต่ำลงเนื่องจากอัตรากำลังการผลิตลดลงเป็นเหตุให้ต้นทุนแปรสภาพสูงขึ้น Core EBITDA
ต่อตันในไตรมาสที่4 ของปี 2554 จึงต่ำลงเท่ากับ 75 เหรียญสหรัฐต่อตัน
เนื่องจากผลกระทบทางลบที่กล่าวมาและอัตรากำไรในธุรกิจ PTA ที่ลดต่ำลงอย่างมาก

ตารางข้างล่างนี้แสดงถึง Consolidated EBITDA และ Core EBITDA ในปี 2554

(ล้านเหรียญสหรัฐ ยกเว้นข้อมูลต่อตัน)
ปี 2554 ปี 2553
Consolidated EBITDA 558 435
(กำไร)ขาดทุนในสินค้าคงเหลือ (6) (36)
Core EBITDA 552 399
Reported EBITDA ต่อตัน $128 $136
Core EBITDA ต่อตัน $127 $125


กำไรสุทธิหลังภาษีเงินได้และส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยเท่ากับ 510 ล้านเหรียญสหรัฐ ใน ปี 2554
เพิ่มขึ้นร้อยละ 55 เมื่อเทียบกับ ปี 2553 ซึ่งเท่ากับ 328 ล้านเหรียญสหรัฐ
กำไรสุทธิหลังภาษีเงินได้และส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยที่ไม่รวมรายการพิเศษ เท่ากับ 297 ล้านเหรียญสหรัฐ
ใน ปี 2554 เพิ่มขึ้นร้อยละ 38 เมื่อเทียบกับ ปี 2553 ซึ่งเท่ากับ 215 ล้านเหรียญสหรัฐ
(หลังจากไม่รวมรายการพิเศษ 113 ล้านเหรียญสหรัฐ) กำไรสุทธิหลังภาษีเงินได้และส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย
297 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2554 นี้ไม่รวมรายการพิเศษ 213 ล้านเหรียญสหรัฐ
ซึ่งประกอบด้วยกำไรจากการต่อรองราคาซื้อ หรือค่าความนิยมติดลบจากการเข้าซื้อกิจการที่เสร็จสิ้นในปีนี้
เท่ากับ 274 ล้านเหรียญสหรัฐ ค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการเข้าซื้อกิจการสุทธิ เท่ากับ 20 ล้านเหรียญสหรัฐ
ขาดทุนจากการด้อยค่าจากสถานการณ์น้ำท่วม เท่ากับ 47 ล้านเหรียญสหรัฐ และ กำไรในสินค้าคงเหลือ เท่ากับ 6
ล้านเหรียญสหรัฐ

บริษัทฯ รายงานขาดทุนสุทธิหลังภาษีเงินได้และส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยเท่ากับ 51 ล้านเหรียญสหรัฐ
ในไตรมาสที่ 4 ของ ปี 2554 ลดลง เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 3 ของ ปี 2554 ซึ่งเท่ากับ 120 ล้านเหรียญสหรัฐ
และไตรมาสที่ 4 ของ ปี 2553 ซึ่งเท่ากับ 134 ล้านเหรียญสหรัฐ
กำไรสุทธิหลังภาษีเงินได้และส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยเมื่อไม่รวมรายการพิเศษ เท่ากับ 15
ล้านเหรียญสหรัฐ เทียบกับไตรมาสที่ 3 ของปี 2554 ซึ่งเท่ากับ 70 ล้านเหรียญสหรัฐ และสูงกว่าไตรมาสที่ 4
ของปี 2553 ซึ่งเท่ากับ 59 ล้านเหรียญสหรัฐ รายการพิเศษในไตรมาสที่ 4 ของปี 2544 เท่ากับ 66
ล้านเหรียญสหรัฐ จากส่วนแบ่งกำไรจากการต่อรองราคาซื้อ หรือค่าความนิยมติดลบจากการเข้าซื้อกิจการ Wellman
และ กิจการร่วมทุน Trevira และ Polyprima เท่ากับ 25 ล้านเหรียญสหรัฐ
ค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการเข้าซื้อกิจการสุทธิ เท่ากับ 8 ล้านเหรียญสหรัฐ
ขาดทุนจากการด้อยค่าจากสถานการณ์น้ำท่วม เท่ากับ 47 ล้านเหรียญสหรัฐ และ ขาดทุนในสินค้าคงเหลือ เท่ากับ
36 ล้านเหรียญสหรัฐ

ผลขาดทุนสุทธิในไตรมาสที่ 4 ของ ปี 2554
ได้รวมผลกระทบจากขาดทุนในส่วนแบ่งกำไรจากการลงทุนในกิจการร่วมทุน จำนวน 9 ล้านเหรียญสหรัฐ
เนื่องมาจากราคาของห่วงโซ่มูลค่าโพลีเอสเตอร์ลดลงอย่างรวดเร็วสืบเนื่องจากวิกฤติฝั่งยุโรป
ส่งผลให้มีการลดปริมาณสินค้าคงเหลือลง

ตารางข้างล่างนี้แสดงกำไรสุทธิหลังหักภาษีเงินได้และส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยกระทบไปกำไรสุทธิหลักจากกา
รดำเนินงานหลังหักภาษีเงินได้และส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย
ไตรมาสที่4 ปี2554 ไตรมาสที่3 ปี2554 ไตรมาสที่4 ปี2553
ปี2554
ปี2553
กำไรสุทธิหลังหักภาษีเงินได้และส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย (51) 120 134 510 328
รายการพิเศษ :
ส่วนแบ่งกำไรจากการต่อรองราคาซื้อและค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการเข้าซื้อกิจการ (17) (34) (38) (254) (76)
ค่าเผื่อขาดทุนจากการด้อยค่าจากน้ำท่วม 47 - - 47 -
(กำไร)ขาดทุนในสินค้าคงเหลือ 36 (16) (37) (6) (37)
กำไรสุทธิหลักจากการดำเนินงานหลังหักภาษีเงินได้และส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย 15 70 59 297 215

เหตุการณ์น้ำท่วมในจังหวัดลพบุรี ประเทศไทย
โรงงานของบริษัทฯในจังหวัดลพบุรีที่ถือหุ้นทั้งทางตรงและทางอ้อมโดยบริษัทย่อย
ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมครั้งรุนแรงในประเทศไทย ทำให้โรงงานผลิต PET บรรจุภัณฑ์ และเส้นใยจากขนสัตว์
ต้องหยุดดำเนินการผลิตตั้งแต่วันที่ 23 กันยายน 2554 ซึ่งกำลังดำเนินการฟื้นฟูอยู่ในขณะนี้
มีการซ่อมแซมอุปกรณ์ และสั่งเครื่องจักรใหม่เข้ามาทดแทน ณ วันที่งบการเงินได้รับการอนุมัตินี้
ฝ่ายบริหารและผู้ประเมินได้เข้าไปสำรวจและประเมินความเสียหาย
และยื่นขอชดเชยค่าประกันความเสียหายในสินค้าคงเหลือ และทรัพย์สินต่อบริษัทประกัน
ความเสียหายจากการขัดข้องทางธุรกิจได้ถูกประเมินโดยฝ่ายบริหารและผู้ประเมินและจะดำเนินการยื่นขอชดเชยค่า
ประกันนี้จากบริษัทประกันในเวลาต่อมา
โรงงานที่ลพบุรีได้ทำกรมธรรม์ประกันภัยไว้สำหรับความเสี่ยงทุกชนิดและความเสียหายจากการขัดข้องทางธุรกิจ
โดยมีมูลค่าเอาประกัน 7,277 ล้านบาท และ 1,599 ล้านบาทตามลำดับ
ฝ่ายบริหารเชื่อว่าความเสียหายใดๆที่เกิดขึ้นจะได้รับเงินชดเชยเต็มจำนวนจากกรมธรรม์ประกันความเสียหาย
ซึ่งสามารถเรียกร้องได้ทั้งค่าเผื่อความเสียหายที่ตั้งขึ้นและและความเสียหายที่เกิดจากการขัดข้องทางธุรก


โรงงานผลิตเส้นใยและเส้นด้ายโพลีเอสเตอร์ที่นครปฐมได้ปิดดำเนินงานเป็นเวลา 3
สัปดาห์เพื่อป้องกันน้ำท่วมที่ผ่านมาซึ่งท้ายสุดไม่ได้รับความเสียหายใดๆ และได้เปิดดำเนินการตามปกติแล้ว

ตามมาตรฐานการบัญชีที่รับรองโดยทั่วไป บริษัทฯได้ตั้งค่าเผื่อความเสียหายสินค้าคงเหลือ
และทรัพย์สินในไตรมาสที่4 ของปี2554 เท่ากับ 54 ล้านเหรียญสหรัฐ (1,645 ล้านบาท) ในงบกำไรขาดทุน

ล้านบาท ธุรกิจ PET ธุรกิจบรรจุภัณฑ์ ธุรกิจ
เส้นใยจากขนสัตว์ รวม
(ล้านบาท) รวม
(ล้านเหรียญสหรัฐ)
ขาดทุนจากการด้อยค่าในทรัพย์สิน 113 487 480 1,080 35
ขาดทุนจากการด้อยค่าในสินค้าคงเหลือ 175 30 360 565 19
ขาดทุนจากการด้อยค่ารวม 288 517 840 1,645 54
ส่วนที่เป็นของบริษัทใหญ่ 286 310 838 1,434 47
ส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย 2 207 2 211 7

นอกจากนี้ มีการตั้งค่าเผื่อสำรองจากการตีราคาในส่วนของผู้ถือหุ้น จำนวน 5 ล้านเหรียญสหรัฐ (162
ล้านบาท) บริษัทฯคาดว่าจะได้รับค่าประกันความเสียหายเป็นงวดๆไป มิใช่ทั้งก้อนเพียงครั้งเดียว
ซึ่งได้รับจดหมายฉบับแรกแล้วจากบริษัทประกันว่าจะจ่ายค่าประกันความเสียหายก้อนแรกเท่ากับ 1
ล้านเหรียญสหรัฐ บริษัทฯคาดว่าโรงงานผลิต PET และบรรจุภัณฑ์จะสามารถเปิดดำเนินการได้ในเดือนพฤษภาคม 2554
และโรงงานผลิตเส้นใยจากขนสัตว์จะสามารถเปิดดำเนินการได้ในไตรมาสที่4 ปี2555

แนวโน้มธุรกิจ

ฝ่ายบริหารเชื่อว่าแผนกลยุทธ์ทางธุรกิจเพื่อเพิ่มปริมาณการผลิตและอัตรากำไรให้สูงขึ้น
โดยจัดให้มีความหลากหลายทางด้านภูมิศาสตร์ ความหลากหลายของผลิตภัณฑ์
และการควบรวมในห่วงโซ่มูลค่าโพลีเอสเตอร์ จะนำไปสู่แผนปี 2557 ที่ตั้งไว้ รูปแบบธุรกิจของ IVL
ได้มุ่งเป้าหมายอย่างชัดเจนไปที่ห่วงโซ่มูลค่าโพลีเอสเตอร์ซึ่งรองรับสินค้าอุปโภคบริโภคหมุนเร็ว (FMCG)
ผ่านการผลิตสินค้าขั้นกลาง ภายหลังเสร็จสิ้นการเข้าซื้อกิจการและโครงการต่างๆที่ได้ประกาศไว้
IVLจะมีกำลังการผลิตถึง 8.3 ล้านตันในปี 2556 (รวมกิจการร่วมทุนซึ่งมีกำลังการผลิต 1 ล้านตันต่อปี)
ทั้งนี้ การขยายโรงงานผลิต PET ในประเทศจีนและเมืองรอตเตอร์ดัมส์ จะเสร็จสิ้นในไตรมาสที่ 2 ของปี 2555

ตัวอย่างการเข้าซื้อกิจการขนาดใหญ่ที่สุด-
Invista และ SK ในเดือนมีนาคม 2554 กำลังการผลิต
(ตันต่อปี) EV
(ล้านเหรียญสหรัฐ) EV/ตัน
(เหรียญสหรัฐต่อตัน) Core EBITDA สำหรับ 10 เดือน
ของปี 2554
(ล้านเหรียญสหรัฐ) EV/EBITDA
(รายปี)
1,286,600 639 497 133 4.0 เท่า
EV หมายถึงมูลค่าธุรกิจ คิดจากผลรวมมูลค่าของทรัพย์สินถาวรและเงินทุนหมุนเวียนของบริษัท
การประกาศซื้อธุรกิจ Old World สหรัฐอเมริกา
เป็นไปตามแผนการควบรวมภายในห่วงโซ่มูลค่าโพลีเอสเตอร์เนื่องจากเป็นธุรกิจผลิตวัตถุดิบหลัก Mono Ethylene
(MEG) และ Purified Ethylene Oxide (PEO) โรงงานตั้งอยู่ในศูนย์กลางของอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ใน Clear
Lake มลรัฐเท็กซัส ประเทศสหรัฐอเมริกา
ซึ่งเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่ได้เปรียบในการจัดหาวัตถุดิบและระบบสาธารณูปโภคต่างๆ MEG
เป็นวัตถุดิบหลักในการผลิต PET โพลีเมอร์และเส้นใยและเส้นด้ายโพลีเอสเตอร์
นอกจากนี้ยังเป็นก้าวไปสู่การเติบโตในผลิตภัณฑ์ใหม่ๆในอัตรากำไรที่สูงขึ้น (เป็นโรงงานผลิต EO/MEG
แรกของ IVL) Old World มีฐานการผลิต ฐานลูกค้า เครือข่ายผู้จัดหาสินค้าและทีมฝ่ายบริหารที่มีประสบการณ์
การเข้าซื้อกิจการดังกล่าว คาดว่าจะทำให้ IVL มีผลกำไรและสร้างความมั่นคงในธุรกิจในระยะยาว
และมีแนวโน้มธุรกิจในทางบวกของ EO/MEG ในอเมริกาเหนือ สำหรับการเติบโตในด้านความต้องการ
อัตราการใช้กำลังการผลิตและอัตรากำไร อเมริกาเหนือมีอุปทานของ Ethylene
จากผู้จำหน่ายหลายรายโดยการขนส่งผ่านท่อและมีแหล่งวัตถุดิบที่เป็นประโยชน์จากก๊าซธรรมชาติและก๊าซจากชั้น
หิน Old World จึงสร้างโอกาสในการเกื้อหนุนทางธุรกิจ (Synergies)
และเสริมสร้างการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพของ IVL ในการผลิต PET โพลีเมอร์ส และเส้นใย
เส้นด้ายโพลีเอสเตอร์ โดยมีกำลังการผลิตประมาณ 1.7 ล้านตันในอเมริกาเหนือ

การเข้าซื้อธุรกิจ FiberVisions ในเดือนมกราคม 2554 ช่วยเพิ่มผลิตภัณฑ์ใหม่เรียก เส้นใย Polypropylene
ซึ่งเป็นเส้นใยแบบพิเศษ FiberVisions เป็นผู้นำในการผลิตเส้นใยแบบพิเศษในระดับโลก
ซึ่งผลิตภัณฑ์สามารถนำมาใช้ประโยชน์ทั้งในอุตสาหกรรมชนิด non-woven และอุตสาหกรรมประเภทอื่นๆ เช่น
อุตสาหกรรมด้านสุขอนามัย ก่อสร้าง รถยนต์ และอุตสาหกรรมสิ่งทอ
ทั้งนี้บริษัทฯยังได้รับสิทธิบัตรและเทคโนโลยีต่างๆ
ควบคู่ไปกับการวิจัยและการพัฒนาที่สำคัญอีกทั้งยังเป็นการสะสมความรู้ทางด้านการวิจัยอย่างยั่งยืนและฝ่าย
บริหารที่มีประสบการณ์ การเข้าซื้อกิจการ FiberVisions ทำให้บริษัทฯ
เป็นผู้เชี่ยวชาญในธุรกิจผลิตเส้นใยแบบพิเศษ เพื่อใช้สำหรับผลิตภัณฑ์ด้านสุขอนามัย
และยังช่วยส่งเสริมให้บริษัทฯมีความแข็งแกร่งในฐานะผู้นำในการผลิตเส้นใย Polypropylene
ซึ่งสามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคทุกภาคส่วนของโลก

ภายหลังไตรมาสที่4 ของปี2554 บริษัทฯเห็นสัญญาณการเพิ่มขึ้นทั้งในปริมาณ ราคา
และอัตรากำไรในทุกๆกลุ่มผลิตภัณฑ์ คาดว่าในปี 2555 บริษัทฯจะมีการเพิ่มขึ้นทั้งในด้านรายได้ ผลประกอบการ
และกระแสเงินสด การเข้าซื้อกิจการหลายแห่งที่เสร็จสิ้นในปี 2554 ซึงจะดำเนินการเต็มปีในปี 2555
และส่งผลต่อผลประกอบการเต็มปี 2555 นอกจากนี้
โครงการขยายกิจการในอนาคตที่ได้ประกาศไว้แล้วจะช่วยเพิ่มความเติบโตให้แก่บริษัทฯ อัตรากำไร PTA
ในทวีปเอเชียปี 2555 จะต่ำลง แต่โรงงานยังคงรักษาอัตรากำลังการผลิตในระดับสูงและ
ได้ผลประโยชน์จากการเพิ่มการใช้ PTA ภายในกลุ่มบริษัทจากร้อยละ 49 ในธุรกิจ PET โพลีเมอร์ส
และเส้นใยและเส้นด้ายโพลีเอสเตอร์
ฝ่ายบริหารจึงมุ่งเป้าไปที่ภาพรวมและการเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานเป็นผลประกอบการที่เพิ่มขึ้นของ
IVL ในบทวิเคราะห์แต่ละกลุ่มผลิตภัณฑ์ได้อธิบายถึง แนวโน้มในปี 2555 ที่ดีขึ้น
ซึ่งลดผลกระทบจากอัตรากำไรในธุรกิจ PTA ที่ลดต่ำลงในปี 2555

ธุรกิจของบริษัทฯในวันนี้มีฐานะการเงินที่แข็งแกร่งมากกว่าที่เคยเป็นมา ด้วยหนี้สินสุทธิต่อผู้ถือหุ้น
เท่ากับ 0.7 เท่า และสภาพคล่องสูงถึง 1.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ (ประกอบด้วย
เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด 559 ล้านเหรียญสหรัฐและวงเงินสินเชื่อที่ยังมิได้เบิกใช้ประมาณ 836
ล้านเหรียญสหรัฐ) ซึ่งไม่เพียงแต่จะช่วยให้บริษัทฯสามารถประกอบธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
แต่ยังจะช่วยให้ธุรกิจเติบโตได้อย่างต่อเนื่องจากการเข้าซื้อกิจการที่ผ่านการพิจารณาโดยละเอียดและคาดว่า
จะเพิ่มมูลค่าแก่กิจการโดยรวม และจากการขยายกิจการที่มีอยู่อย่างเหมาะสม

เนื่องจากลักษณะของโพลีเอสเตอร์ที่จัดหาง่าย และเป็นสินค้าอุปโภคที่ใช้ในชีวิตประจำวัน (อาหาร
เครื่องดื่ม และเสื้อผ้า) ทำให้ความต้องการในทุกกลุ่มผลิตภัณฑ์ของบริษัทฯเติบโตทั่วทุกภูมิภาค
และทุกโรงงานผลิตของบริษัทฯมีอัตราการใช้กำลังการผลิตสูง การประหยัดต่อขนาดทำให้ต้นทุนการผลิตต่ำ
บริษัทฯคาดว่าจะได้รับผลดีจากการที่บริษัทมีโรงงานอยู่ทั่วภูมิภาคหลักของโลก ในฐานะผู้นำของตลาด
และการควบรวมในอุตสาหกรรม การลงทุนในนวัตกรรม หรือสินค้าเพิ่มมูลค่าจะทำให้อัตรากำไรโดยรวมเพิ่มมากขึ้น
และจะเป็นประโยชน์ต่อไปอีกในภายภาคหน้า

โครงการที่ประกาศถึง ไตรมาสที่ 1 ของปี 2555

โครงการที่ได้รับการอนุมัติตั้งแต่ไตรมาสที่ 4 ปี 2554 จนถึงปัจจุบัน
เดือนกุมภาพันธ์ 2555 คณะกรรมการบริษัทฯ ได้มีมติอนุมัติให้ซื้อหุ้นในอัตราร้อยละ 100 ในกิจการของ Old
World Industries I, Ltd และ Old World Transportation, Ltd (เรียกว่า "Old World") ตั้งอยู่ที่ Clear
Lake มลรัฐเท็กซัส ประเทศสหรัฐอเมริกา บริษัทฯ ได้ลงนามในสัญญาซื้อขายเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2555
กับผู้ขาย ในประเทศสหรัฐอเมริกา มูลค่าการเข้าซื้อกิจการเท่ากับ 795 ล้านเหรียญสหรัฐ (24,645 ล้านบาท)
ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากเงินกู้ยืมจากธนาคารและเงินสดภายในกิจการ
และการซื้อกิจการดังกล่าวจะดำเนินการเสร็จสิ้น ภายในไตรมาสแรกของปี 2555
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการอนุมัติจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การเข้าซื้อธุรกิจ Old World สหรัฐอเมริกา
เป็นไปตามแผนการควบรวมภายในห่วงโซ่มูลค่าโพลีเอสเตอร์ เพื่อเพิ่มอัตรากำไร
และเป็นการเริมลงทุนในโรงงานผลิต Ethylene Oxide และ Mono Ethylene Glycol เป็นครั้งแรกของบริษัทฯ Mono
Ethylene Glycol (MEG) เป็นส่วนประกอบหลักซึ่งใช้ร่วมกับ PTA ในอุตสาหกรรมการผลิต PET และ
เส้นใยและเส้นด้ายโพลีเอสเตอร์ ซึงเป็นผลิตภัณฑ์หลัก ของ IVL Old World ดำเนินธุรกิจผลิตและขาย Ethylene
Oxide "EO" และอนุพันธ์ผลิตภัณฑ์ Ethylene Oxide ซึ่งได้แก่ Purified Ethylene Oxide "PEO",
Monoethylene Glycol "MEG", Diethylene Glycol "DEG" และ Triethylene Glycol "TEG"
โดยโรงงานตั้งอยู่ในศูนย์กลางของอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ใน Clear Lake
มลรัฐเท็กซัสประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งโรงงานดังกล่าวยังเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่ได้เปรียบในการจัดหาวัตถุดิบแล
ระบบสาธารณูปโภคต่างๆ นอกจากนี้โรงงานยังได้รับประโยชน์ในด้านการขนส่งทั้งทางด้านการขนส่งทางท่อ
การขนส่งใต้น้ำ การขนส่งด้วยรถรางและรถบรรทุก ตารางต่อไปนี้แสดงกำลังการผลิตของโรงงาน

ผลิตภัณฑ์ กำลังการผลิต (ล้านปอนด์ต่อปี) กำลังการผลิต (ตันต่อปี)
**EO 960 435,000

Purified EO 450 204,000
MEG 790 358,000
DEG 140 64,000
TEG 14 6,400
Total 1,394 632,400
*2,204.1 ปอนด์เท่ากับประมาณ 1 ตัน
**EO เป็นสารขั้นกลางที่นำไปใช้ผลิตต่อเป็น Purified EO, MEG, DEG และ TEG

เดือนมกราคม 2555 คณะกรรมการบริษัทฯ ได้มีมติอนุมัติการซื้อกิจการร้อยละ 100 ของ FiberVisions Holdings
LLC ซึ่งเป็นผู้ผลิตระดับโลกในอุตสาหกรรมผลิตเส้นใยพิเศษแบบ Mono และ Bi-component ที่เมือง Duluth,
Georgia ประเทศสหรัฐอเมริกา การเข้าซื้อดังกล่าวเสร็จสิ้นวันที่ 6 มกราคม 2555
ด้วยราคาซื้อตามมูลค่าธุรกิจ เท่ากับ 181 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 5,736 ล้านบาท) FiberVisions
มีกำลังการผลิตโดยรวมจำนวน 221,000 ตันต่อปี โดยแบ่งเป็นกำลังการผลิตในประเทศสหรัฐอเมริกา จำนวน 117,000
ตันต่อปีกำลังการผลิตในทวีปยุโรป จำนวน 90,000 ตันต่อปี และกำลังการผลิตในประเทศจีนจำนวน 14,000
ตันต่อปี FiberVisions Holdings, LLC และบริษัทย่อย เป็นผู้นำในการผลิตเส้นใยในระดับโลก
ซึ่งผลิตภัณฑ์สามารถนำมาใช้ประโยชน์ทั้งในอุตสาหกรรมชนิด non-woven และอุตสาหกรรมประเภทอื่นๆ เช่น
อุตสาหกรรมด้านสุขอนามัย ก่อสร้าง รถยนต์ และอุตสาหกรรมสิ่งทอ
ทั้งนี้บริษัทฯยังได้รับสิทธิบัตรและเทคโนโลยีต่างๆ ควบคู่ไปกับการวิจัยและการพัฒนาที่สำคัญ
อีกทั้งยังเป็นการสะสมความรู้ทางด้านการวิจัยอย่างยั่งยืน การเข้าซื้อกิจการ FiberVisions ทำให้บริษัทฯ
เป็นผู้เชี่ยวชาญในธุรกิจผลิตเส้นใยแบบพิเศษ เพื่อใช้สำหรับผลิตภัณฑ์ด้านสุขอนามัย
และยังช่วยส่งเสริมให้บริษัทฯมีความแข็งแกร่งในฐานะผู้นำในการผลิตเส้นใย Polypropylene
ซึ่งสามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคทุกภาคส่วนของโลก

เดือนมกราคม 2555 ฝ่ายบริหารประกาศแผนการปรับโครงสร้าง Trevira GmbH ในประเทศเยอรมัน
เพื่อเป็นการพัฒนาประสิทธิภาพด้านการผลิตและด้านการตลาดของบริษัทร่วมค้า Trevira GmbH
ฝ่ายบริหารได้ทำการปรับโครงสร้างและผนึกรวมสถานที่ตั้งในเชิงกลยุทธ์ที่สำคัญทั้งหมดของแหล่งการผลิตเส้นใ
(ยังมีต่อ)